Donnerstag, 13. Dezember 2018

ปัญหาและเฉลย(บาลีไวยากรณ์) ประโยค ป.ธ. ๓ ปี 2555


ประโยค ป..
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
สอบ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
__________________

. เอ กับ โอ สระ ๒ ตัวนี้ ว่าโดยฐานต่างจากสระอื่นอย่างไร ฯ และ เพราะเหตุไร จึงจัดเป็นสังยุตตสระด้วย ฯ

. ในสนธิกิริโยปกรณ์ วิการ กับ ทีฆะ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ ธมฺมมิธญฺาย เป็นสนธิอะไร ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ

. จงตอบคำถามต่อไปนี้
. นามเช่นไร จัดเป็นนามนาม ฯ
. ภิกฺขเว มีวิธีทำตัวอย่างไร ฯ
. อสีติ เป็นวจนะ และลิงค์อะไร ฯ
. ต ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะจตุตถีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างไร ฯ
. รโห แปลว่าอย่างไร ฯ เป็นนิบาตบอกอะไร ฯ


. ธาตุคืออะไร ฯ ท่านรวบรวมจัดไว้เป็นกี่หมวด ฯ อะไรบ้าง ฯ สงฺกิลิสฺสติ, ปมชฺชึสุ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไรบ้าง ฯ

. ปัจจัยแห่งกิริยากิตก์ทั้ง ๓ หมวดนั้น ตัวไหนบอกให้รู้ความอะไร ฯ และ ตัวไหนบ้างใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้ ฯ สุทฺธิ ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูป และ สาธนะอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ

. สมาสเป็นไร ชื่อว่าพหุพพิหิสมาส ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ กิลิฏฺนิวาสน- ปารุปโน (สามเณโร) เป็นสมาสอะไรบ้าง จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ

. อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต กับ ปูรณตัทธิต มีวิธีใช้ต่างกันอย่างไร ฯ ทุสฺสีลฺยํ ลงปัจจัยอะไร ฯ ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดู ฯ

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง.

**************

เฉลย ประโยค ป..
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
__________________

. เอ กับ โอ สระ ๒ ตัวนี้ ว่าโดยฐานต่างจากสระอื่น ดังนี้ เอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและเพดาน เรียกว่า กณฺตาลุโช โอ เกิดใน ๒ ฐาน คือ คอและริมฝีปาก เรียกว่า กณฺโฏฺโช ฯ และเพราะประกอบเสียงสระ ๒ ตัว เป็นเสียงเดียวกัน คือ อ กับ อิ ผสมกันเป็น เอ, อ กับ อุ ผสมกันเป็นโอ ฉะนั้น จึงจัดเป็นสังยุตตสระด้วย ฯ

. ในสนธิกิริโยปกรณ์ วิการ กับ ทีฆะ มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ วิการ ได้แก่การทำสระตัวหนึ่งให้เป็นสระอีกตัวหนึ่ง เช่นทำ อิ ให้เป็น เอ ทำ อุ ให้เป็น โอ ตัวอย่างเช่น มุนิ - อาลโย เป็นมุเนลโย สุ - อตฺถี เป็น โสตฺถี เป็นต้น
ส่วนทีฆะ ได้แก่การทำสระที่มีเสียงสั้นให้มีเสียงยาว เช่นทำ อ ให้เป็น อา ทำ อิ ให้เป็น อี ทำ อุ ให้เป็น อู ตัวอย่างเช่น ตตฺร - อยํ เป็น ตตฺรายํ สทฺธา - อิธ เป็น สทฺธีธ จ - อุภยํ เป็น จูภยํ เป็นต้น
ธมฺมมิธญฺาย เป็นอาเทศนิคคหิตสนธิ และ โลปสระสนธิ ตัดเป็น ธมฺมํ - อิธ - ฺาย
ระหว่าง ธมฺมํ - อิธ นิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ม ต่อเป็น ธมฺมมิธ ระหว่าง ธมฺมมิธ - ฺาย สระหน้าและสระหลังไม่มีพยัญชนะคั่นในระหว่าง ลบสระหน้าคือ อ ที่ ธ ต่อเป็น ธมฺมมิธฺาย ฯ

. ได้ตอบคำถาม ต่อไปนี้ คือ
. นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ, จัดเป็นนามนาม ฯ
. ภิกฺขเว มีวิธีทำตัวอย่างนี้ คือ ภิกฺขเว ศัพท์เดิมเป็น ภิกฺขุ ลง โย อาลปนวิภัตติ พหุวจนะ เอา โย เป็น เว แล้ว เอา อุ เป็น อ สำเร็จรูปเป็น ภิกฺขเว ฯ
. อสีติ เป็น เอกวจนะ และอิตถีลิงค์อย่างเดียวแม้เข้ากับศัพท์ที่เป็นพหุวจนะลิงค์อื่น ก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนไปตาม ฯ
. ต ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เฉพาะจตุตถีวิภัตติ มีรูปแจกอย่างนี้
เอกวจนะ พหุวจนะ
จตุตถี ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย ตาสํ ตาสานํ
. รโห แปลว่า ที่ลับ เป็นนิบาตบอกที่ ฯ

. ธาตุ คือ กิริยาศัพท์ที่เป็นมูลราก ฯ ท่านรวบรวมจัดไว้เป็น ๘ หมวด คือ
. หมวด ภู ธาตุ ๒. หมวด รุธฺ ธาตุ
. หมวด ทิวฺ ธาตุ ๔. หมวด สุ ธาตุ
. หมวด กี ธาตุ ๖. หมวด คหฺ ธาตุ
. หมวด ตนฺ ธาตุ ๘. หมวด จุรฺ ธาตุ
สงฺกิลิสฺสติ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ สํ บทหน้า กิลิส ธาตุ (ในความเศร้าหมอง เบียดเบียน แผดเผา) ย ปัจจัย ติ วัตตมานาวิภัตติ เอกวจนะ ฯ
ปมชฺชึสุ ประกอบด้วยเครื่องปรุง คือ ป บทหน้า มทฺ ธาตุ (ในความเมา) ย ปัจจัย อุอัชชัตตนีวิภัตติ พหุวจนะ ฯ

. ปัจจัยแห่งกิริยากิตก์ทั้ง ๓ หมวดนั้น แต่ละตัวบอกให้รู้ความดังต่อไปนี้ คือ อนฺต ปัจจัย ในหมวดกิตปัจจัย และมาน ปัจจัย ในหมวด กิตกิจจปัจจัย บอกให้รู้ปัจจุบันกาล แปลว่า อยู่ เมื่อ
อนีย, ตพฺพ ปัจจัย ในหมวดกิจจปัจจัย บอกให้รู้ความจำเป็น แปลว่า พึง
ตวนฺตุ, ตาวี ปัจจัย ในหมวดกิตกิจจปัจจัย และ ต, ตูน, ตฺวา, ตฺวาน, ปัจจัย ในหมวดกิตกิจจปัจจัยบอกให้รู้อดีตกาล แปลว่า แล้ว ฯ
และปัจจัย ๓ ตัว คือ อนีย, ตพฺพ, ต ปัจจัย ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้ ฯสุทฺธิ ลง ติ ปัจจัยฯ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า สุชฺฌนฺติ เอตายาติ สุทฺธิ หรือเป็น ภาวรูป ภาวสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า สุชฺฌนํ สุทฺธิ ฯ

. สมาสอย่างหนึ่ง มีบทอื่นเป็นประธาน ชื่อว่า พหุพพิหิสมาส ฯ มี ๖ อย่าง คือ ทุติยาพหุพพิหิ, ตติยาพหุพพิหิ, จตุตถีพหุพพิหิ, ปัญจมีพหุพพิหิ, ฉัฏฐีพหุพพิหิ, สัตตมีพหุพพิหิ ฯ
กิลิฏฺนิวาสนปารุปโน (สามเณโร) เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีอสมาหาร-ทวันทวสมาส (หรือสมาหารทวันทวสมาส)เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
.ทวัน. วิ. นิวาสนฺจ ปารุปนฺจ นิวาสนปารุปนานิ หรือ (.ทวัน. วิ. นิวาสนฺจ ปารุปนฺจ นิวาสนปารุปนํ)
.ตุล.พหุพ. วิ. กิลิฏฺานิ นิวาสนปารุปนานิ ยสฺส โส กิลิฏฺ-นิวาสนปารุปโน (สามเณโร)

. อี ปัจจัย ใน ตทัสสัตถิตัทธิต กับ ปูรณตัทธิต มีวิธีใช้ต่างกันอย่างนี้ คืออี ปัจจัย ใน ตทัสสัตถิตัทธิต ใช้ลงแทน อตฺถิ ศัพท์ แปลว่า มี และใช้ลงท้ายศัพท์นามนาม ทำศัพท์นามนามให้เป็นคุณนาม ตัวอย่าง ทณฺฑี คนมีไม้เท้า โภคี คนมีโภคะ
ส่วน อี ปัจจัย ใน ปูรณตัทธิต ใช้ลงแทน ปูรณ ศัพท์ แปลว่า ที่เต็ม และใช้ลงท้ายปกติสังขยา ตั้งแต่ เอกาทส เป็นต้น จนถึง อฏฺารส เฉพาะที่เป็นอิตถีลิงค์ ทำปกติสังขยาให้เป็นปูรณสังขยา ตัวอย่าง เอกาทสี ที่ ๑๑ ทฺวาทสี ที่ ๑๒ เป็นต้น ฯ
ทุสฺสีลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวตัทธิต ฯ ตั้งวิเคราะห์ว่า ทุสฺสีลสฺส ภาโว ทุสฺสีลฺยํ ฯ

____________________________
พระเทพปริยัติมุนี เขมจารี วัดทองนพคุณ เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้.

Keine Kommentare: