ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์
ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๕
----------------------
๑. ๑.๑ คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด
เพราะขาดธรรมอะไร ?
๑.๒ ผู้ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีบุคคล
เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ?
๑. ๑.๑ เพราะขาดสติ
ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ
และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ในขณะทำ ฯ
ในขณะทำ ฯ
๑.๒ เพราะเป็นผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว
และตอบแทน ฯ
๒. ๒.๑ พระรัตนตรัยมีอะไรบ้าง
?
๒.๒ รัตนะที่
๑ หมายถึงใคร ?
จงอธิบาย
๒. ๒.๑ มีพระพุทธ
๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
๒.๒ หมายถึงพระพุทธเจ้า
ฯ ได้แก่ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย
วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่า พระพุทธศาสนา ฯ
วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่า พระพุทธศาสนา ฯ
๓. ๓.๑ โอวาทของพระพุทธเจ้า
๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ?
๓.๒ บุคคลผู้หวังความเจริญ
ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร ?
มีอะไรบ้าง
?
๓. ๓.๑ ๑)
เว้นจากทุจริต
คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา
ใจ
๒)
ประกอบสุจริต
คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา
ใจ
๓)
ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ
มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ
๓.๒ ควรตั้งอยู่ในวุฑฒิธรรม
ฯ มี
๑)
คบสัตบุรุษ
๒)
ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ
๓)
ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
๔)
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว
ฯ
๔. ๔.๑ ผู้ประกอบกิจการงานสำเร็จตามความประสงค์เพราะประพฤติธรรมอะไร
?
มีอะไรบ้าง ?
มีอะไรบ้าง ?
๔.๒ คำว่าทุกข์ได้แก่อะไร
?
มีสาเหตุมาจากอะไร
?
๔. ๔.๑ เพราะประพฤติอิทธิบาท
๔ มี
๑) ฉันทะ
พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒) วิริยะ
เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓) จิตตะ
เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
ไม่วางธุระ
๔) วิมังสา
หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
ฯ
๔.๒ ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ฯ มีสาเหตุมาจากตัณหา
ความทะยานอยาก ฯ
ความทะยานอยาก ฯ
๕. ๕.๑
"รู้รักสามัคคี"
เกิดขึ้นเพราะปฏิบัติธรรมอะไร
?
๕.๒
อปริหานิยธรรม
คืออะไร ?
มีกี่ข้อ
? จงแสดงมา
๑ ข้อ
๕. ๕.๑
สาราณิยธรรม
ฯ
๕.๒
คือธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
มี ๗ ข้อ ฯ (ตอบข้อใดข้อหนึ่ง)
คือ
๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม
เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียง
กันเลิกและพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
กันเลิกและพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น
ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรง
บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรง
บัญญัติไว้
บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรง
บัญญัติไว้
๔) ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่
เป็นประธานในสงฆ์
เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น
เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖) ยินดีในเสนาสนะป่า
๗) ตั้งใจอยู่ว่า
เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล
ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา
ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข
ฯ
๖. ๖.๑
มัตตัญญุตา
ความเป็นผู้รู้ประมาณ
ในสัปปุริสธรรม มีอธิบายไว้อย่างไร
?
๖.๒
คำว่า
เจรจาชอบ ในมรรคมีองค์
๘ นั้น คือเจรจาอย่างไร ?
๖. ๖.๑
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบและรู้จัก
ประมาณในการบริโภคแต่พอควร ฯ
ประมาณในการบริโภคแต่พอควร ฯ
๖.๒ คือเว้นจากพูดเท็จ
เว้นจากพูดส่อเสียด
เว้นจากพูดคำหยาบ และเว้นจากพูด
เพ้อเจ้อ ฯ
เพ้อเจ้อ ฯ
๗. ๗.๑ นาถกรณธรรมคืออะไร
?
๗.๒ นาถกรณธรรมข้อว่า
กัลยาณมิตตตา หมายความว่าอย่างไร
?
๗. ๗.๑ คือธรรมทำที่พึ่ง
ฯ
๗.๒ ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
ไม่คบคนชั่ว ฯ
๘. ๘.๑ มิตรแท้
๔ จำพวก คือใครบ้าง ?
๘.๒ คำต่อไปนี้แปลว่าอย่างไร
?
ก) อติถิพลี
ข) ปุพพเปตพลี
๘. ๘.๑ คือ
๑) มิตรมีอุปการะ ๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓) มิตรแนะประโยชน์
๔) มิตรมีความรักใคร่
ฯ
๘.๒ ก) การต้อนรับแขก
ข) การทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
ฯ
๙. ๙.๑ คำว่า
อุบาสก อุบาสิกา แปลว่าอะไร
?
๙.๒ การค้าขายยาเสพติดมียาบ้าเป็นต้นจัดเข้าในมิจฉาวณิชชาข้อไหน
?
๙. ๙.๑ อุบาสก
แปลว่า ชายผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย
อุบาสิกา
แปลว่า หญิงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย
ฯ
๙.๒ การค้าขายน้ำเมา
ฯ
๑๐.
๑๐.๑ การถือมงคลตื่นข่าวคือถืออย่างไร
?
พระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนั้นหรือ
อย่างไร ?
อย่างไร ?
๑๐.๒ สมณพราหมณ์
เมื่อได้รับการบำรุงแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรอย่างไรบ้าง
?
๑๐. ๑๐.๑ ถือว่านี้ฤกษ์ดี
ยามดี เป็นมงคลดี นี้ฤกษ์ไม่ดี
ยามไม่ดี ไม่เป็นสวัสดิมงคล
ฯ
พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ถือเช่นนั้น
สอนให้เชื่อว่า เรามีกรรมเป็นของของตน
เราทำดีจักได้ดี
ทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ
๑๐.๒ อย่างนี้
คือ
๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว
๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม
๖) บอกทางสวรรค์ให้
ฯ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระธรรมกวี
|
วัดราชาธิวาสวิหาร
|
|
|
๒.
|
พระราชรัตนดิลก
|
วัดปทุมคงคา
|
|
|
๓.
|
พระศรีสิทธิเมธี
|
วัดดุสิดาราม
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
โดยสนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen