ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์
ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๕
-------------------------------
๑. ๑.๑ พุทธประวัติว่าด้วยเรื่องอะไร
?
๑.๒ การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไร
?
๑. ๑.๑ ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของพระพุทธเจ้า
เป็นการแสดงพระพุทธจริยาในด้าน
ต่างๆ ของพระองค์ให้ปรากฏ ฯ
ต่างๆ ของพระองค์ให้ปรากฏ ฯ
๑.๒ ได้ประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑) ในด้านการศึกษา
ทำให้ทราบความเป็นมาของพระพุทธเจ้า
เช่นเดียว
กับการศึกษาตำนานความเป็นมาของชาติตน ทำให้บุคคลได้ทราบว่า
ชาติของตนเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไรเป็นต้น
กับการศึกษาตำนานความเป็นมาของชาติตน ทำให้บุคคลได้ทราบว่า
ชาติของตนเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไรเป็นต้น
๒) ในด้านปฏิบัติ
ทำให้บุคคลได้แนวในการดำเนินชีวิตตามพระพุทธจริยา
อันเป็นปฏิปทานำความสุขความเจริญมาให้แก่บุคคล ตามสมควรแก่การ
ประพฤติปฏิบัติ ฯ
อันเป็นปฏิปทานำความสุขความเจริญมาให้แก่บุคคล ตามสมควรแก่การ
ประพฤติปฏิบัติ ฯ
๒. ๒.๑ พระมหาบุรุษทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตที่ไหน
?
๒.๒ ในราตรีแห่งการตรัสรู้
พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณอะไรในแต่ละยาม
?
๒. ๒.๑ ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ
ฯ
๒.๒ ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ในปฐมยาม
ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณหรือทิพพจักษุญาณ
ในมัชฌิมยาม
ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ
ในปัจฉิมยาม ฯ
๓. ๓.๑ พระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์เพราะทรงพิจารณา
อย่างไร ?
อย่างไร ?
๓.๒ พระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว
ในพรรษาแรกเสด็จประทับอยู่ที่ไหน
?
และทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้อย่างไร ?
และทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้อย่างไร ?
๓. ๓.๑ เพราะทรงพิจารณาว่า
บุคคลผู้มีกิเลสน้อยเบาบางก็มี
หนาก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้า
ก็มี อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะ
รู้ได้ก็มี ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระธรรมเทศนาคงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คนทุกเหล่า เว้นแต่
จำพวกที่มิใช่เวไนยสัตว์ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า ฯ
ก็มี อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะ
รู้ได้ก็มี ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระธรรมเทศนาคงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คนทุกเหล่า เว้นแต่
จำพวกที่มิใช่เวไนยสัตว์ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า ฯ
๓.๒ ประทับอยู่
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
แขวงเมืองพาราณสี ฯ
ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจที่สำคัญไว้ดังนี้
๑) ทรงแสดงธรรมโปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ได้สำเร็จมรรคผลสูงสุด
๒) ทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะพร้อมด้วยสหายอีก
๕๔ คน จนสำเร็จ
พระอรหัตผลทั้งหมด
พระอรหัตผลทั้งหมด
๓) ทรงแสดงธรรมโปรดบิดามารดาและภรรยาเก่าของพระยสะให้ได้
ดวงตาเห็นธรรม แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ผู้ถึงพระ
รัตนตรัยก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก
ดวงตาเห็นธรรม แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ผู้ถึงพระ
รัตนตรัยก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก
๔)
ทรงส่งพระอรหันตสาวก
๖๐ องค์ ไปประกาศพระศาสนายังถิ่นต่างๆ
เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก ฯ
เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก ฯ
๔. ๔.๑ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมต่อไปนี้แก่ใคร
? ที่ไหน
?
ก) โอวาทปาฏิโมกข์
ข) เวทนาปริคคหสูตร
๔.๒ สถานที่ต่อไปนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์อย่างไร
?
ก)
เวฬุวัน
ข)
สาลวัน
๔. ๔.๑ ก)
แก่พระอรหันตขีณาสพ
๑,๒๕๐
องค์ ณ เวฬุวนาราม แคว้นมคธ
ข)
แก่ทีฆนขปริพาชก
ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ
แขวงเมืองราชคฤห์ ฯ
๔.๒ ก)
เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร
ซึ่งทรงถวายเป็นที่ประทับ
ของพระพุทธองค์พร้อมกับพระสงฆ์ เป็นสังฆารามแห่งแรก ฯ
ของพระพุทธองค์พร้อมกับพระสงฆ์ เป็นสังฆารามแห่งแรก ฯ
ข) เป็นสถานที่แสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชกผู้เป็นปัจฉิมสักขิสาวก
และเป็นสถานที่ปรินิพพาน ฯ
และเป็นสถานที่ปรินิพพาน ฯ
๕. ๕.๑ พระราชาของแคว้นไหนที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นองค์แรก
?
และทรงพระนาม
ว่าอะไร ?
ว่าอะไร ?
๕.๒ ความปรารถนาว่า
"ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์"
เป็นความ
ปรารถนาของใคร ? และความปรารถนานั้นสำเร็จบริบูรณ์เมื่อไร ?
ปรารถนาของใคร ? และความปรารถนานั้นสำเร็จบริบูรณ์เมื่อไร ?
๕. ๕.๑ พระราชาของแคว้นมคธ
ทรงพระนามว่า พิมพิสาร ฯ
๕.๒ ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งยังทรงเป็นพระราชกุมาร
ฯ สำเร็จบริบูรณ์ในวันที่
ได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรด ณ สวนตาลหนุ่ม
จนได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
ได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรด ณ สวนตาลหนุ่ม
จนได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
๖. ๖.๑ พระพุทธองค์ประทับจำพรรษาสุดท้าย
ณ ที่ใด ?
๖.๒ พระองค์ทรงปลงอายุสังขารเมื่อใด
?
๖. ๖.๑ ณ
บ้านเวฬุวคาม กรุงเวสาลี
แคว้นวัชชี ฯ
๖.๒ เมื่อวันเพ็ญเดือน
๓ คือ ๓ เดือนก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ฯ
๗. ๗.๑ เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระพุทธองค์ได้ประทานพระโอวาทเรื่อง
ศาสดาแทนพระองค์ไว้อย่างไร ?
ศาสดาแทนพระองค์ไว้อย่างไร ?
๗.๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงวิธีปฏิบัติต่อภิกษุผู้ถูกลงพรหมทัณฑ์ไว้อย่างไร
?
๗. ๗.๑ ได้ประทานพระโอวาทว่า
"ดูก่อนอานนท์
ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด
อันเราได้
แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดา
แห่งท่านทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเรา" ฯ
แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดา
แห่งท่านทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเรา" ฯ
๗.๒ ตรัสไว้ว่า
"ภิกษุนั้นจะพึงปรารถนาเจรจาคำใด
ก็พึงเจรจาคำนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ไม่พึงว่า ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอนเลย" ฯ
ไม่พึงว่า ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอนเลย" ฯ
ศาสนพิธี
๘. ๘.๑ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
กำหนดไว้กี่วัน ?
มีวันอะไรบ้าง
?
๘.๒ วันแรม
๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างไร
?
๘. ๘.๑ ๔
วัน มีวันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา
วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา
ฯ
๘.๒ เป็นวันอัฏฐมีบูชา
คือวันคล้ายกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ฯ
๙. ๙.๑ คำว่า
"เจริญพระพุทธมนต์"
กับ
"สวดพระพุทธมนต์"
ใช้ในพิธีต่างกันอย่างไร
?
๙.๒ จงเขียนคำอาราธนาพระปริตรมาดู
๙. ๙.๑ คำว่า
"เจริญพระพุทธมนต์"
ใช้ในพิธีมงคล
ส่วนคำว่า "สวดพระพุทธมนต์"
ใช้ในพิธีอวมงคล ฯ
ใช้ในพิธีอวมงคล ฯ
๙.๒ วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ
พฺรูถ มงฺคลํ ฯ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ
พฺรูถ มงฺคลํ ฯ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ
พฺรูถ มงฺคลํ ฯ
๑๐. ๑๐.๑ คำว่า
"เผดียงสงฆ์"
หมายถึงอะไร
?
๑๐.๒ การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์
หมายถึงอย่างไร ?
๑๐. ๑๐.๑ หมายถึงการแจ้งความประสงค์ให้สงฆ์ทราบ
ฯ
๑๐.๒ หมายถึงการกราบพร้อมด้วยองค์
๕ คือให้หน้าผาก กับฝ่ามือสองข้าง
เข่าสองข้าง
จดพื้น ฯ
จดพื้น ฯ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระเทพปัญญามุนี
|
วัดปทุมวนาราม
|
|
|
๒.
|
พระราชธรรมมุนี
|
วัดจักรวรรดิราชาวาส
|
|
|
๓.
|
พระศรีธรรมเมธี
|
วัดมหรรณพาราม
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
โดยสนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen