ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์
ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๕
--------------------------------
๑. ๑.๑ พระวินัย
คืออะไร ?
๑.๒ สิกขา
๓ เมื่อศึกษาแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร
?
๑. ๑.๑ คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร
ฯ
๑.๒ ย่อมได้ประโยชน์ดังนี้
ศึกษาเรื่องศีล ทำให้เป็นผู้มีกาย
วาจาเรียบร้อย ศึกษา
เรื่องสมาธิทำให้ใจสงบมั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ศึกษาเรื่องปัญญา ทำให้รอบรู้ในกอง
สังขาร ฯ
เรื่องสมาธิทำให้ใจสงบมั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ศึกษาเรื่องปัญญา ทำให้รอบรู้ในกอง
สังขาร ฯ
๒. ๒.๑ สิกขากับสิกขาบทต่างกันอย่างไร
?
๒.๒ สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์มีเท่าไร
? อะไรบ้าง
?
๒. ๒.๑ สิกขา
คือข้อที่ภิกษุต้องศึกษา
สิกขาบท
คือพระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ
เป็นสิกขาบทอันหนึ่งๆ ฯ
๒.๒ มี
๒๒๗ ฯ
คือปาราชิก
๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗
ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗
รวมเป็น
๒๒๗ ฯ
๓. ๓.๑ คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร
?
ก) อาทิกัมมิกะ
ข) อเตกิจฉา
๓.๒ อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมีเท่าไร
? อะไรบ้าง
?
๓. ๓.๑ ก) ภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น
ฯ
ข) อาบัติที่แก้ไขไม่ได้
ฯ
๓.๒ มี
๖ อย่าง คือ
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย
๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่า
สิ่งนี้จะเป็นอาบัติ
๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๔. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๕. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
๖. ต้องด้วยลืมสติ
ฯ
๔. ๔.๑ คำว่า
"ไถยจิต"
หมายถึงอะไร
?
๔.๒ ในอทินนาทานสิกขาบท
กำหนดราคาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง
?
๔. ๔.๑ หมายถึงจิตคิดจะลัก
คือจิตคิดถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
ฯ
๔.๒ กำหนดไว้อย่างนี้
ทรัพย์มีราคาตั้งแต่
๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก
ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า
๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก
เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์มีราคาตั้งแต่
๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ
ฯ
๕. ๕.๑ สังหาริมทรัพย์
และอสังหาริมทรัพย์
ได้แก่ทรัพย์เช่นไร ?
๕.๒ การถือเอาทรัพย์ทั้ง
๒ อย่างนั้น กำหนดว่าถึงที่สุดไว้อย่างไร
?
๕. ๕.๑ สังหาริมทรัพย์
ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้
ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มี
วิญญาณ เช่นสัตว์และเงินทองเป็นต้น ฯ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์
หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยตรงได้แก่ที่ดิน โดยอ้อมนับของที่ติดเนื่องอยู่
กับที่นั้นด้วย เช่น ต้นไม้และเรือนเป็นต้น ฯ
วิญญาณ เช่นสัตว์และเงินทองเป็นต้น ฯ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์
หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยตรงได้แก่ที่ดิน โดยอ้อมนับของที่ติดเนื่องอยู่
กับที่นั้นด้วย เช่น ต้นไม้และเรือนเป็นต้น ฯ
๕.๒ สังหาริมทรัพย์
กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยทำให้เคลื่อนจากฐาน
ฯ
อสังหาริมทรัพย์
กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ
ฯ
๖. ๖.๑ ปาราชิก
๔ สิกขาบทไหนที่ภิกษุใช้ให้เขาทำก็ต้องอาบัติถึงที่สุด
?
๖.๒ สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบทไหนบ้างต้องอาบัติตั้งแต่แรกทำ
?
มีชื่อเรียกอย่างไร
?
๖. ๖.๑ สิกขาบทที่
๒ และสิกขาบทที่ ๓ ฯ
๖.๒ สิกขาบทที่
๑ ถึงที่ ๙ ฯ เรียกว่า
ปฐมาปัตติกะ ฯ
๗. ๗.๑ ภิกษุมีความกำหนัด
จับต้องกะเทย บุรุษ
และสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
เป็นอาบัติ
อะไร ?
อะไร ?
๗.๒ อาบัติไม่มีมูล
กำหนดโดยอาการอย่างไร ?
โจทด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติ
อะไร ?
อะไร ?
๗. ๗.๑ จับต้อง
กะเทย เป็นอาบัติถุลลัจจัย
บุรุษ เป็นอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ
เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ
๗.๒ กำหนดโดยอาการ
๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑ ไม่ได้ยิน
๑ ไม่ได้รังเกียจ ๑ ว่า
ภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องสังฆาทิเสส โจทด้วย
อาบัติสังฆาทิเสสต้องปาจิตตีย์ โจทด้วยอาบัติอื่นจากนี้ต้องปาจิตตีย์
ในมุสาวาทสิกขาบท ฯ
ภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องสังฆาทิเสส โจทด้วย
อาบัติสังฆาทิเสสต้องปาจิตตีย์ โจทด้วยอาบัติอื่นจากนี้ต้องปาจิตตีย์
ในมุสาวาทสิกขาบท ฯ
๘. ๘.๑ ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ทำด้วยวัตถุกี่ชนิด
? อะไรบ้าง
?
๘.๒ จีวร
ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า
ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย
อย่างไหนควรพินทุ
อย่างไหนไม่ควร ? เพราะเหตุใด ?
อย่างไหนไม่ควร ? เพราะเหตุใด ?
๘. ๘.๑ ๖
ชนิด คือ
๑. ทำด้วยเปลือกไม้
เช่น ผ้าลินิน
๒. ทำด้วยฝ้าย
คือ ผ้าสามัญ
๓. ทำด้วยไหม
คือ ผ้าแพร
๔. ทำด้วยขนสัตว์
เช่น ผ้าสักหลาด
๕. ทำด้วยเปลือกไม้
เช่น ผ้าป่าน (สาณะ)
๖. ทำด้วยสัมภาระเจือกัน
ฯ
๘.๒ จีวร
และอังสะ ควรพินทุ เพราะใช้ห่ม
ผ้านิสีทนะ
ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า
ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม
ฯ
๙. ๙.๑ ภิกษุพูดปดต้องอาบัตินั้นทราบแล้ว
แต่ถ้าพูดเรื่องจริง
จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่
?
๙.๒ ปฏิสสวะทุกกฏ
คืออะไร ?
๙. ๙.๑ ต้องอาบัติเหมือนกันคือ
บอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน
ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งมุสาวาทวรรค บอกอาบัติชั่วหยาบของ
ภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตามสิกขาบทที่
๙ แห่งมุสาวาทวรรค ฯ
อาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งมุสาวาทวรรค บอกอาบัติชั่วหยาบของ
ภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตามสิกขาบทที่
๙ แห่งมุสาวาทวรรค ฯ
๙.๒ คืออาบัติทุกกฏที่เกิดจากการรับคำด้วยจิตบริสุทธิ์
แต่ภายหลังไม่ได้ทำตามคำ
ที่รับปากไว้ ฯ
ที่รับปากไว้ ฯ
๑๐. ๑๐.๑ การนุ่งเป็นปริมณฑล
คือการนุ่งอย่างไร ?
๑๐.๒ เสขิยวัตรว่าด้วยการรับบิณฑบาตมีหลายข้อ
จงระบุมาเพียง ๒ ข้อ
๑๐. ๑๐.๑ คือนุ่งเบื้องบนปิดสะดือ
แต่ไม่ถึงกระโจมอก
เบื้องล่างปิดหัวเข่าทั้ง
๒ ลงมา
เพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า ฯ
เพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า ฯ
๑๐.๒ (เลือกตอบเพียง
๒ ข้อ)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร
ฯ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระเทพสีมาภรณ์
|
วัดพระนารายณ์มหาราช
จ.นครราชสีมา
|
|
|
๒.
|
พระราชปริยัติดิลก
|
วัดบพิตรพิมุข
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
โดยสนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen