Dienstag, 16. Juni 2020

๑๙. ปากเป็นเอกเลขเป็นโท



๑๙. ปากเป็นเอกเลขเป็นโท

มนุญฺญเมว ภาเสยฺย, นามนุญฺญํ กุทาจนํ;
มนุญฺญํ ภาสมานสฺส, ครุํ ภารํ อุททฺธริ;
ธนญฺจ นํ อลาเภสิ, เตน จตฺตมโน อหุฯ

บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่ไพเราะเท่านั้น 
ไม่พึงกล่าวคำที่ไม่ไพเราะในกาลไหนๆ 
เมื่อพราหมณ์กล่าวคำไพเราะ 
โคนันทิวิสาลได้ลากเอาภาระอันหนักไปได้ 
ทำพราหมณ์ผู้นั้นให้ได้ทรัพย์ด้วย, 
ตนเองก็เป็นผู้ปลื้มใจเพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๑๙, ขุ. ชา. ๒๗/๒๘ นันทิวิสาลชาดก)

..


ศัพท์น่ารู้ :

มนุญฺญเมว (ความฟูใจ, ความชอบใจ, เป็นที่พอใจ) มโน+อญฺญ > มนุญฺญ+อํ ด้วยอนฺตศัพท์ที่ตามมา ในเพราะสระ ให้เอาที่สุดที่ไม่ใช่ปุถศัพท์เป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ปุถสฺสุ พฺยญฺชเน. (รู ๔๔) แล้วลบสระหลัง. ในอภิธาน. ฏีกา (คาถา ๖๙๓) ได้วิเคราะห์และอธิบายไว้ว่า มนํ โตเสตีติ มนุญฺญํฯ ญา ปริมาณโตสนนิสามเนสุ, อนฺตสฺสุกาโร, มนํ อา ภุโส โตเสตีติ วา มนุญฺญํ, ตทา ‘‘มโน อญฺญ’’นฺติ เฉโท, อาโลโปฯ (สิ่งที่ยังใจให้ยินดี ชื่อว่า มนุญญะฯ ญา ในการนับ, ยินดีและการใคร่ครวญ, แปลงที่สุดเป็น อุ, หรือวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ทำใจให้ยินดีอย่างแรง ชื่อว่า มนุญญะ, วิ. หลังนี้ให้ตัดบทเป็น มโน+อญฺญ, ให้ลบ อา.) หมายความว่า แยกเป็น มโน (มน) + ญา หรือ มน+อา+ญา ก็ได้.
ภาเสยฺย, (กล่าว, พูด, ปราศัย) √ภาส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
นามนุญฺญํ ตัดบทเป็น +อมนุญฺญํ (หามิได้ + คำที่ไม่เป็นที่พอใจ)
กุทาจนํ (ในกาลไหนๆ, ในกาลบางคราว) กึ+ทาจนํ ปัจจัย
ภาสมานสฺส (ผู้กล่าวอยู่) √ภาส++มาน > ภาสมาน+
ครุํ (หนัก) ครุ+อํ
ภารํ (ภาระ, สิ่งของ, เครื่องบรรทุก) ภาร+อํ ในพระบาฬีเป็นบทสมาส ครุภารํ (ภาระที่หนัก)
อุททฺธริ (ยกขึ้นได้แล้ว, ลากไปได้แล้ว) อุ+อา+√ธร+อี ภูวาทิ. กัตตุ. อัชชนี. อาคม, ซ้อน ทฺ
ธนญฺจ ตัดบทเป็น ธนํ+ (ซึ่งทรัพย์+ด้วย)
นํ (นั้น, ยังพราหมณ์นั้น) +อํ
อลาเภสิ (ให้ได้แล้ว) +√ลภ+เณ+อี+ อาคม ภูวาทิ. เหตุกัตตุ. อัชชตนี.
เตน (เพราะ..นั้น) +นา สัพพนาม
จตฺตมโน ตัดบทเป็น +อตฺตมโน (ด้วย+ปลื้มใจ, ดีใจ) อตฺต+มน > อตฺตมน+สิ
อหุ (ได้เป็นแล้ว) +√หู+อี ภูวาทิ. กัตตุ. อัชชตนี. ลบ อี วิภัตติ, และรัสสะ.

..

Keine Kommentare: