Mittwoch, 4. Oktober 2023

๓๑๔. ฉลาดรอบรู้

๓๑๔. ฉลาดรอบรู้


ปญฺญาวา วุฑฺฒิสมฺปนฺโน,  วิธานวิธิโกวิโท; 

กาลญฺญู สมยญฺญู , ราชวสตึ วเส.


ราชเสวกต้องมีปัญญา สมบูรณ์ด้วยปัญญา

ฉลาดในวิธีจัดแจงการงานนานา 

รู้กาลมีการให้ทานเป็นต้น รู้สมัยมีการไถหว่านเป็นต้น

ราชเสวกเช่นนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๑๔, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๙ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ปญฺญวา (ผู้มีปัญญา, คนรู้จักพิจารณา) ปญฺญา+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > ปญฺญวนฺตุ+สิ = ปญฺญวา, วิ. ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ ปญฺญวา. (ผู้มีปัญญา ชื่อว่า ปัญญวา หรือ ปัญญวันตุ) เป็นตทัสสัตถิตัทธิต

วุฑฺฒิสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา, สมบูณร์ด้วยปัญญาที่ไม่บกพร่อง) วุฑฺฒิ+สมฺปนฺน > วุฑฺฒิสมฺปนฺน+สิ (ส่วนบาฬีฉัฏฐสังคายนา เป็น พุทฺธิสมฺปนฺโน)

วิธานวิธิโกวิโท (ผู้ฉลาดในการวิธีการจัดแจงการงานต่าง ) วิธาน+วิธิ+โกวิท > วิธานวิธิโกวิท+สิ

กาลญฺญู (ผู้รู้กาล, รู้เวลา) กาล+ญู (√ญา+รู ปัจจัยในนามกิตก์) กาลญฺญู+สิ, วิ. กาลํ ชานาตีติ กาลญฺญู (ผู้รู้กาล ชื่อว่า กาลัญญู) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ.

สมยญฺญู (ผู้สมัย, รู้กาล) สมย+ญู (√ญา+รู ปัจจั) > สมยญฺญู+สิ, วิ. สมยํ ชานาตีติ สมยญฺญู (ผู้รู้จักสมัย ชื่อว่า สมยัญญู) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ. 

(ด้วย,​ และ) นิบาต

ราชวสตึ วเส (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ผู้ใดมีปัญญา ถึงพร้อมด้วยคุณวุฒิเฉียบแหลม

ในวิธีจัดการต่าง รู้จักกาลแลสมัย ผู้นั้น 

จึ่งอยู่ในราชสำนักได้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นราชเสวก ต้องเป็นผู้สอดส่องให้ตระหนักในราชกิจ

มีความคิดสุขุมรอบคอบ ไม่บกพร่อง

ฉลาดในวิธีจักให้ราชกิจดำเนินไปโดยเรียบร้อย

และรู้จักกาลรู้จักสมัยว่าจะควรปฏิบัติอย่างไร

ปฏิบัติราชกิจให้สำเร็จ โดยตรงแก่กาลและสมัยนั้น . 


--


 

Keine Kommentare: