Montag, 22. Februar 2021

๒๕๙.​ คนพูดแล้วไม่คืนคำ ๓ จำพวก

๒๕๙.​ คนพูดแล้วไม่คืนคำ ๓ จำพวก


สกึ วทนฺติ ราชาโน, สกึ สมณพฺราหฺมณา;

สกึ สปฺปุริสา โลเก, เอส ธมฺโม สนนฺตโนฯ


"พระราชาทั้งหลายตรัสแล้วไม่คืนคำ,

สมณะและพราหมณ์กล่าวแล้วไม่กลับคำ;

สัตบุรุษทั้งหลายในโลกพูดคำไหนเป็นคำนั้น,

นี้เป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาแต่โบราณ.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๙, โลกนีติ ๑๒๐, นรทกฺขทีปนี ๑๔๒)

…..

ศัพท์น่ารู้ :


สกึ: (ครั้งเดียว, คราวเดียว) นิบาตบอกการนับ (สงฺขฺยาวิภาค)

วทนฺติ: (ตรัส, กล่าว, ปราศัย) วท++อนฺติ ภูวาทิคณะ กัตตวาจก 

ราชาโน: (ราชา, กษัตริย์ .) ราช+โย แปลง โย เป็น อาโน ด้วยสูตรว่า โยนมาโน. (รู ๑๑๔)

 

สกึ:  (ครั้งเดียว, คราวเดียว) นิบาต

สมณพฺราหฺมณา: (สมณะและพราหมณ์ .) สมณพฺราหฺมณ+โย แปลง โยเป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)


สกึ:  (ครั้งเดียว, คราวเดียว) นิบาต

สปฺปุริสา: (สัตบุรุษ, ผู้มีปัญญา .) สปฺปุริส+โย 

โลเก: (ในโลก) โลก+สฺมึ

 

เอส: = เอโส (นั่น, นี่้) เอต+สิ วิเสเสนะของ ธมฺโม

ธมฺโม: (ธรรม, ธรรมเนียม, ประเพณี) ธมฺม+สิ .

สนนฺตโน: (เก่าแก่, ของเก่า, ดั่งเดิม) สนนฺตน+สิ .


ในนรทกฺขนีติ (นรทกฺขทีปนี ๑๔๒) มีศัพท์แปลกกันเฉพาะในบาทคาถาที่   ดังนี้


สกึ วทนฺติ ราชาโน,

สกึ สมณพฺราหฺมณา;

สกึว ปุริสา โลเก,

เอส ธมฺโม สนนฺตโนฯ


..


อันที่จริง ศัพท์ว่า สกึ วทนฺติ แปลตรงว่า ย่อมพูดครั้งเดียว หากแปลตรงเกินไป คงไม่ได้ความแน่

ก็เลยแปลเอาความว่า พูดแล้วไม่คืนคำ หรือ พูดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น

คำว่า สัตบุรุษ ว่าโดยอุกฤษน่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นต้น เพราะพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสคำไหน ก็เป็นคำนั้น มีตัวอย่างมากมายในพระบาฬี



..


 

Keine Kommentare: