๒๖๓. มนต์มัดใจ
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;
ชิเน กทริยํ ทาเนน, สจฺเจนาลิกวาทินํฯ
“พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ,
พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี,
พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้,
พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๓, โลกนีติ ๑๒๙, ขุ. ธ. ๒๕/๒๗, ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๒ )
ศัพท์น่ารู้ :
อกฺโกเธน (ด้วยความไม่โกรธ) น+โกธน > อกฺโกธ+นา
ชิเน (พึงชนะ) ชิ+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ.
โกธํ (ความโกรธ) โกธ+อํ
อสาธุํ (คนไม่ดี) น+สาธุ > อสาธุ+อํ
สาธุนา (ด้วยความดี) สาธุ+นา
กทริยํ (ความตระหนี่) กทริย+อํ
สจฺเจน (ด้วยความสัตย์) สจฺจ+นา
อลิกวาทินํ (คนมีปกติพูดไม่จริง) อลิก+วาทิน > อลิกวาทิน+อํ
ในพระบาลีคาถาธรรมบท โกธวรรค คาถานี้เป็น
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน,
ชิเน กทริยํ ทาเนน, สจฺเจนาลิกวาทินํ.
มีที่ต่างกัน ๒ ศัพท์ คือ อกฺโกเธน กับ กทริยํ
อกฺโกเธน หรือ อโกเธน อย่างไหนถูกต้อง?
ตามหลักแล้วควรซ้อน เพราะเป็นเทฺวภาวฐานะ สมตามที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๔๐ กล่าวไว้ว่า
„เอตฺถ จ ฐานํ นาม รสฺสาการโต ปรํ ป-ปติ-ปฏิ-กมุ-กุส-กุธ-กี-คห-ชุต-ญา-สิ-สุ-สุมฺภ-สร-สสาทีนมาทิพฺยญฺชนํ เทฺวภาวํ,..
(แปลว่า)
จ สำหรับ เอตฺถ (สุตฺเต) ในสูตรนี้ อิติ เอวํ อาทิ (ฐานํ) ฐานะเป็นต้นอย่างนี้ว่า อาทิพฺยญฺชนํ พยัญชนะตัวต้น ปปติปฏิกมุกุสกุธกีคหชุตญาสิสุสมฺภุสรสสาทีนํ (อุปสคฺค-ธาตูนํ) แห่งอุปสัคและธาตุทั้งหลายมี ป ปติ ปฏิ อุปสัค และ กมุ กุส กุธ กี คห ชุต ญา สิ สุ สมฺภุ สร สส ธาตุเป็นต้น ปรํ อันอยู่ข้างหลัง รสฺสาการโต จากรัสสสระและอาอักษรทั้งหลาย (ปปฺโปติ ย่อมถึง) เทฺวภาวํ ซึ่งความเป็นเทฺวภาวะ จ ด้วย.
ฉะนั้น คำว่า อกฺโกเธน ตามพระบาลีถือว่าถูกต้องแล้ว
ความต่างของ มจฺฉริ และ กทริย ปรากฏในอรรถกถาสังยุตตนิกาย เทวตาสังยุต สูตรที่ ๙ (มัจฉริยสูตร)
กทริยาติ อิทํ มจฺฉริโนติ ปทสฺเสว เววจนํ ฯ มุทุกํปิ หิ มจฺฉริยํ มจฺฉริยนฺ เตฺวว วุจฺจติ ถทฺธํ ปน กทริยํ นาม ฯ
(แปลว่า)
บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่ นั่นแหละ, เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่า มัจฉริยะ ส่วนความ ตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ.
มจฺฉโร มจฺเฉโร (ความตระหนี่) มาจาก มสุ-มจฺฉเร+กฺวิ
แปลง สุ ของ มสุ เป็น จฺฉร-จฺเฉร ด้วยสูตรว่า มสุสฺส สุสฺส จฺฉรจฺเฉรา. (รู ๖๕๔)
มจฺฉริย = มจฺฉร+อิย ลง อิย ปัจจัยในอรรถสกัตถะ
วิ. มจฺฉรเมว มจฺฉริยํ (ความตระหนี่นั้นแหละ ชือว่า ความความหนี่)
ที่มาข้อความนี้จาก (อภิธาน. ฏีกา คาถา ๑๖๘)
ในที่นั้นบอกว่า ในเพระ ณ ปัจจัย ให้แปลง สุ ของ มสุ เป็น จฺเฉร, จฺฉร
ซึ่งต่างจาก ปทรูปสิทธิ ว่า ลง กฺวิ ปัจจัย อันนักศึกษาหรือผู้รู้จะว่าอย่างไร?
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen