Samstag, 27. Februar 2021

๒๖๔. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา

๒๖๔. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา


อทนฺตทมนํ ทานํ, ทานํ สพฺพตฺถ สาธกํ;

ทาเนน ปิยวาจาย, อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จฯ

อทนฺตทมนํ ทานํ, อทานํ ทนฺตทูสกํ;

ทาเนน ปิยวาจาย, อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จฯ


ทานเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จในที่ทั้งปวง

ชนทั้งหลายย่อมน้อมขึ้นน้อมลง

เพราะการให้ทานและการพูดจาไพเราะ.“

ทานเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

การไม่ให้ทานเป็นการประทุษร้ายคนที่ฝึกแล้ว

ชนทั้งหลายย่อมน้อมขึ้นน้อมลง

เพราะการให้ทานและการพูดจาไพเราะ.“



(กวิทัปปณนีติ ๒๖๔, โลกนีติ ๑๓๐, มหารหนีติ ๑๘๖)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อทนฺตทมนํ (เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึกแล้ว) อทนฺต (คนที่ยังไม่ได้ฝึกตน) + ทมน (การฝึกหัด, เครื่องฝึกหัด) > อทนฺตทมน+สิ

ทานํ (การให้, ทาน) ทา+ยุ (แปลง ยุ ปัจจัยเป็น อน) > ทาน+สิ นป.

สพฺพตฺถ (ในที่ทั้งปวง) สพฺพ+ ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ในปทรูปสิทธิเรียกว่า วิภัตติปัจจัย (ใช้ปัจจัยแทนวิภัตติ) จัดเป็นนิบาตบท, บาฬีสนามหลวง เรียกว่า อัพยยศัพท์

สาธกํ (เครื่องทำให้สำเร็จ, ยังประโยชน์ให้สำเร็จ) สาธก+สิ

ทาเนน (ด้วยการให้, เพราะทาน) ทาน+นา

ปิยวาเจน (ด้วยวาจาน่ารัก, การกล่าวคำอันเป็นที่รัก, พูดจาไพเราะ) ปิย+วาจ > ปิยวาจ+นา

อุนฺนมนฺติ (ย่อมน้อมขี้น, ยกมือไหว้) อุ+√นม++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

นมนฺติ (ย่อมน้อมน้อม, กราบไหว้) √นม++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

(ด้วย, และ) นิบาต


..


 

Keine Kommentare: