Sonntag, 28. Februar 2021

๒๖๕. ทานเป็นยาเสน่ห์


 ๒๖๕. ทานเป็นยาเสน่ห์  


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ โทสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสีเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ กปโณสธํฯ


ทาน คือยาเสน่ห์มัดใจมิตร,

ความตระหนี่ คือพิษทำลายเพื่อน,

ทาน คือโอสถของคนมีเกียรติยศ,

ความตระหนี่ คือโอสถของคนไร้เกียรติ.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๕, โลกนีติ ๑๓๑)


ศัพท์น่ารู้ :


ทานํ: (ทาน, การให้) ทาน+สิ 

สิเนหเภสชฺชํ: (ยาคือเสน่ห์, เภสัชคือเสน่ห์, สิเนหเภสัช) สิเนหเภสชฺช+สิ, สิเนห (ยางเหนียว, เสน่ห์), เภสชฺช (ยา, เภสัช)


มจฺเฉรํ: (ความตระหนี่, มัจฉริยะ) มจฺเฉร+สิ 

โทสโนสธํ: (ยาคือโทษ, ยาให้โทษ, โอสถที่เป็นโทษ) โทสโนสธ+อํ


ทานํ: (ทาน, การให้) ทาน+สิ 

ยสสฺสีเภสชฺชํ: (ยา-, เภสัชของผู้มียศ) ยสสฺสีเภสชฺช+อํ, ยสสฺสี (ผู้มียส), เภสชฺช (ยา, เภสัช)


มจฺเฉรํ: (ความตระหนี่, มัจฉริยะ) มจฺเฉร+สิ 

กปโณสธํ: (ยา-, โอสถของคนกำพร้า) กปโณสธ+อํ, กปณ (คนกำพร้า), โอสธ (ยา, โอสถ)


——


ต่อไปนี้จะได้ยกคาถาเดียวกันนี้จากนีติอื่นมาเปรียบเทียบให้เห็นการใช้ศัพท์ เพื่อความเป็นฉลาดในอักษรต่อไป


ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๓๑) มีข้อความเหมือนในกวิทัปปณนีติ ดังนี้


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ,

มจฺเฉรํ โทสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสีเภสชฺชํ,

มจฺเฉรํ กปโณสธํฯ


ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๑๘๗) ใช้ศัพท์แปลกกันนิดหน่อย ดังนี้


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ,

มจฺเฉรํ ทุสฺสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสโภสชฺชํ,

มจฺเฉรํ กปฺปโนสธํฯ


ในธมฺมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๒๒) มีศัพท์แปลกกันนิดหน่อยเช่นกัน ดังนี้


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ, 

มจฺเฉรํ โทสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสิเภสชฺชํ, 

มจฺเฉรํ กปฺปโนสธํฯ


..


โอสธ (ยา, ยารักษาโรค, โอสถ) นป., อุส-ทาเห+

วิ. โรคโมสาเปตีติ โอสธํ  

(ยาที่ทำให้โรคภัยระงับไป ชื่อว่า โอสธ) เหตุกัตตุรูป เหตุกัตตุสาธนะ

(อภิธาน. ฏีกา) 


เภสชฺช (ยา, ยารักษาโรค) นป., ภิสคฺค+ณฺย 

วิ. ภิสคฺคสฺส กมฺมํ เภสชฺชํ

(กรรมของแพทย์ ชื่อว่า เภสชฺช) เป็นภาวตัทธิต

ลง ณฺย ปัจจัยด้วยการแบ่งสูตรว่า ณฺย-ตฺต-ตา ในสูตรเต็มว่า ณฺยตฺตตา ภาเว ตุ. (รู ๓๘๗) 



..

Keine Kommentare: