๒๖๖. สิ่งที่ราชเสวกไม่ควรทำ
น รญฺญา สมกํ ภุญฺเช, กามโภคํ กุทาจนํ;
อากปฺปํ รสภุตฺตํ วา, มาลาคนฺธวิเลปนํ;
วตฺถสพฺพมลงฺการํ, น รญฺญา สทิสํ กเรฯ
“ราชเสวกไม่ควรใช้สอยบริโภคสิ่งของเครื่องใช้
เสมอด้วยพระราชา ในกาลไหน ๆ ๑ ไม่ควรทำอากัปกริยาเลียนแบบ ๑
ไม่ควรเสวยภัตมีรสเหมือนกัน ๑ ไม่ควรทัดทรงมาลาลูบไล้ของหอมเหมือนกัน ๑
และไม่ควรสวมเสื้อผ้าและประดับของทั้งปวงเหมือนกันกับพระราชา ๑.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๖, โลกนีติ ๑๓๔, ธมฺมนีติ ๒๙๖, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๑)
…..
ศัพท์น่ารู้ :
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
รญฺญา: (ด้วยพระราชา, กับพระราชา) ราข+นา
สมกํ: (เสมอ, สมกัน) สมก+อํ
ภุญฺเช: (พึงรัปทาน, ทาน, บริโภค, เสวย) ภุช+อ+เอยฺย รุธาทิคณะ กัตตุวาจาก
กามโภคํ: (บริโภคกาม, เครื่องใช้สอย) กามโภค+อํ
กุทาจนํ: (ในกาลไหน ๆ, ในกาลบางคราว) กึ+ทาจนํ อัพยยศัพท์
อากปฺปํ: (อากัปปกิริยา, แสดงท่าทาง, -อาการ) อากปฺป+อํ
รสภุตฺตํ: (การบริโภคอาหาร, การเสพรส) รสภุตฺต+อํ
วา: (หรือ, หรือว่า) นิบาต
มาลาคนฺธวิเลปนํ: (ทัดทรงดอกไม้-ลูบไล้ของหอม) มาลาคนฺธวิเลปน+อํ
วตฺถสพฺพมลงฺการํ: (การใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับทุกอย่าง) วตฺถสพฺพมลงฺการ+อํ
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
รญฺญา: (ด้วยพระราชา) ราช+นา
สทิสํ: (เช่นกัน, เสมอกัน) สทิส+อํ
กเร: (พึงกระทำ) กร+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก (ถ้าเป็น กร+โอ+เอยฺย ตนาทิคณะ กัตตุวาจก)
——
ต่อไปนี้จะได้ยกคาถาเดียวกันนี้จากนีติอื่นมาเปรียบเทียบให้เห็นการใช้ศัพท์ เพื่อความเป็นฉลาดในอักษรต่อไป
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๓๔) มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้
น รญฺญา สมกํ ภุญฺเช,
กามโภคํ กุทาจนํ;
อากปฺปํ รสภุตฺตึ วา,
มาลาคนฺธวิเลปนํ;
วตฺถํ สพฺพอลงฺการํ,
น รญฺญา สทิสํ กเรฯ
ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๙๑) ท่านย่อข้อความให้สั้นกระชับ ดังนี้
น รญฺญา สมกํ วตฺถํ,
น มาลํ น วิเลปนํ;
อากปฺปํ สรกุตฺตึ วา,
น รญฺญา สทิสมาจเรฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen