๒๖๗. สิ่งที่ข้าเฝ้าควรคิดอยู่เสมอ
น เม ราชา สขา โหติ, น ราชา โหติ สมโก;
เอโส สามิโก มยฺหนฺติ, จิตฺเต นิฏฺฐํ สณฺฐาปเยฯ
“ราชเสวกไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นในจิตว่า..
พระราชาทรงเป็นเพื่อนเกลอของเรา,
พระราชาทรงเป็นคนสามัญชนเหมือนเรา,
แต่พึงคิดเสมออยู้ในใจว่า..พระราชาทรง
เป็นนายเหนือหัวสูงสุดของเรา.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๗, โลกนีติ ๑๓๕)
ศัพท์น่ารู้ :
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
เม: (ของเรา) อมฺห+ส แปลง อมฺห กับ ส เป็น เม ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เต-เมกวจเนสุ จ. (รู ๒๗๔)
ราชา: (พระราชา) ราช+สิ
สขา: (เพื่อน, มิตร, เกลอ) สขา+สิ แปลง สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า สฺยา จ. (รู ๑๑๓)
โหติ: (ย่อมเป็น) หู+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
ราชา: (พระราชา) โหติ: (ย่อมเป็น)
สมโก: (ผู้เสมอกัน, สมกัน, เพื่อนกัน) สมก+สิ
เอโส: (นั้น, นั้น) เอต+สิ สัพพนาม
สามิโก: (เจ้าของ, เจ้านาย, เหนือหัว) สามิก+สิ
มยฺหนฺติ: ตัดบทเป็น มยฺหํ+อิติ แปลว่า ว่า..ของเรา ดังนี่, มยฺหํ (ของเรา) อมฺห+ส แปลง อมฺห กับ ส เป็น มยฺหํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตุยฺหํ มยฺหญฺจ. (รู ๒๔๒) สัพพนาม
จิตฺเต: (ในจิต, ในใจ) จิตฺต+สฺมึ
นิฏฺฐํ: (สำเร็จ, จบ) นิฏฺฐ+อํ
สณฺฐาปเย: (พึงยัง..ให้ตั้งมั่น, พึงให้ดำรงมั่น) สํ+ฐา+ณาปย+เอยฺย ภูวาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก
..
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๓๕) มีบางศัพท์ที่แปลกกันเห็นได้ชัด ดังนี้
น เม ราชา สขา โหติ,
น ราชา โหติ เมถุโน;
เอโส สามิโก มยฺหนฺติ,
จิตฺเต นิฏฺฐํ สุถาปเยฯ
..
ความคิดนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ โบราณจึงสอนนักว่า คิดไม่ดี ระวัง..ขี้กลากจะกินหัว(กบาล)!
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen