๒๖๒. ลาภที่ไม่พึงประสงค์
มาตา ปุตฺตกตํ ปาปํ, สิสฺสกตํ คุรุ ตถา;
ราชา รฏฺฐกตํ ปาปํ, ราชกตํ ปุโรหิโตฯ
"ลูกประพฤติชั่ว พ่อแม่ก็พลอยเป็นทุกข์เดือดร้อน,
ศิษย์ประพฤติชั่ว ครูอาจารย์ก็พลอยเป็นทุกข์;
พสกนิกรทำความชั่ว พระราชาก็ทรงห่วงใยเป็นทุกข์,
พระราชาไม่ทรงอยู่ในธรรม ข้าราชบริพารก็พลอยเป็นทุกข์.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๒, โลกนีติ ๑๒๘, ธมฺมนีติ ๒๖๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มาตา: (มารดา, แม่) มาตุ+สิ
ปุตฺตกตํ: (ที่บุตรกระทำแล้ว, -ได้ทำลงไป) ปุตฺตกต+สิ
ปาปํ: (บาป, กรรมชั่ว, ความเลวทราม) ปาป+สิ
สิสฺสกตํ: (ที่ศิษย์กระทำแล้ว, -ได้ทำลงไป) สิสฺสกต+สิ
คุรุ: (ครู, อาจารย์) คุรุ+สิ
ตถา: (เหมือนกัน, เช่นกัน, เหมือนอย่างนั้น)
ราชา: (พระราชา) ราช+สิ
รฏฺฐกตํ: (ที่ชาวแว่นแคว้นกระทำแล้ว, พลเมือง-, ประชาชนได้ทำลงไป) รฏฺฐกต+สิ
ปาปํ: (บาป, กรรมชั่ว, ความเลวทราม) ปาป+สิ
ราชกตํ: (ที่พระราชากระทำแล้ว, -ได้ทำลงไป) ราชกต+สิ
ปุโรหิโต: (ปุโรหิต, ที่ปรึกษาของพระราชา, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) ปุโรหิต+สิ
..
ต่อไปนี้จะได้ยกคาถาเดียวกันนี้จากนีติอื่นมาเปรียบเทียบให้เห็นการใช้ศัพท์ เพื่อความเป็นฉลาดในอักษรต่อไป
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๒๘) มีข้อความต่างกัน ดังนี้
มาตา ปุตฺตกรํ ปาปํ,
สิสฺสปาปํ คุรุ กตา;
ราชา รฏฺฐกรํ ปาปํ,
ราชปาปํ ปุโรหิโตฯ
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๘๓) มีข้อความต่างจากนีติทั้งสองข้างต้นอีก ดังนี้
ปุตฺโต ปาปํ กโต มาตา,
สิสฺโส ปาปํ กโต ครุ;
นาคเรหิ กโต ราชา,
ราชา ปาปํ ปุโรหิโตฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen