Mittwoch, 24. Februar 2021

๒๖๑. พระปรีชาญาณ

 

๒๖๑. พระปรีชาญาณ 


อายํ ขยํ สยํ ชญฺญา, กตากตํ สยํ ชญฺญา;

นิคฺคเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคเห ปคฺคหารหํฯ


พระราชาทรงทราบความเจริญ

และความเสื่อมด้วยพระองค์เอง,

ทรงทราบพระกรณียกิจทีทรงทำแล้ว

หรือมิได้กระทำแล้วด้วยพระองค์เอง;

พระองค์ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม, 

และทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๑)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อายํ: (กำไร, รายได้, ผลประโยชน์, ความเจริญ) อาย+อํ .

ขยํ: (ความสิ้นไป, ความเสื่อม) ขย+อํ . 

สยํ: (เอง, ด้วยตนเอง) สย+อํ 

ชญฺญา: (พึงทราบ, รู้) ญา+นา+เอยฺย

 

กตากตํ: (กิจที่ได้ทำและมิได้ทำ) กตากต+อํ 

สยํ: (เอง, ด้วยตนเอง) สย+อํ 

ชญฺญา: (พึงทราบ, รู้) ญา+นา+เอยฺย


นิคฺคเห: (พึงข่ม, ตำหนิ) นิ+คห++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก 

นิคฺคหารหํ: (ที่ควรข่ม, ควรตำหนิ) นิคฺคหารห+อํ


ปคฺคเห: (พึงยกย่อง, ชมเชย) +คห++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก 

ปคฺคหารหํ: (ที่ควรยกย่อง, ควรชมเชย) ปคฺคหารห+อํ

..

ต่อไปนี้จะได้ยกคาถาเดียวกันนี้จากนีติอื่นมาเปรียบเทียบให้เห็นการใช้ศัพท์ เพื่อความเป็นฉลาดในอักษรต่อไป


ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๒๓) มีข้อความแตกต่างกันนิดหน่อย ดังนี้


อายํ ขยํ สยํ ชญฺญา,

ราชา สยํ กตากตํ;

นิคฺคเห นิคฺคเหตพฺพํ,

ปคฺคเห ปคฺคหารหํฯ


ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๑๘๖) ท่านใช้เป็น นิคฺคณฺเห เป็นคหาทิคณะ กัตตุวาจก ดังนี้


สยํ อายํ วยํ ชญฺญา, 

สยํ ชญฺญา กตากตํ;

นิคฺคณฺเห นิคฺคณฺหารหํ, 

ปคฺคณฺเห ปคฺคณฺหารหํฯ


ส่วนในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๒๕๑) ในครึ่งคาถาหลัง ค่อนข้างแปลกจากนีติอื่นอย่างมาก ดังนี้


สยํ อายํ วยํ รญฺญา,

สยํ ชญฺญา กตากตํ;

อตฺตนาว ภวกฺเขยฺย,

กตานิ อกตานิ

..

กวิทัปปณนีติ ราชกัณฑ์ คาถา ๒๖๑, พระปรีชาญาณของจอมแผ่นดิน


เหมือนและต่างกันอย่างไร?


ปคฺคณฺเห (พึงยกย่อง, ชมเชย) +คห+ณฺหา+เอยฺย คหาทิคณะ กัตตุวาจก

ปคฺคเห (พึงยกย่อง, ชมเชย) +คห++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก


เพราะในธาตฺวัตถสังคหะ (คาถา ๙๔) กล่าวว่า

คโห อาทาเน คภูจุ,“

หมายถึง คห ธาตุเป็นไปในอรรถว่า ถือเอา เป็นได้ หมวดธาตุคือ คหาทิ. ภูวาทิ. และ จุราทิ.


Keine Kommentare: