Samstag, 27. März 2021

๒๙๔. คนใช้ ๕

๒๙๔. คนใช้  


ทาสา ปญฺเจว โจรยฺย-สขาญาตฺยตฺตสาทิสา;

ตถา วิญฺญูหิ วิญฺเญยฺยา, มิตฺตทารา พนฺธวาฯ


ทาสมี จำพวกคือ ลักมา

นาย เพื่อน ญาติ เช่นตน

มิตร เมีย พวกพ้อง อันวิญญูชน

พึงทราบเหมือนอย่างนั้น.


(กวิทปฺปณนีติ ๒๙๔)

..


ศัพท์น่ารู้ :


ทาสา: (ทาส, คนใช้, บริวาร .) ทาส+โย

ปญฺเจว: ตัดบทเป็น ปญฺจ+เอว (ห้านั่นเทียว) ปญฺจ+โย, เอว เป็นนิบาต


โจรยฺยสขา ญาตฺยตฺตสาทิสา: (?) ในมหารหนีติ เป็น โจรยฺยสขญาตฺยตฺตสทิสา (แปลยากครับ แปลไม่ออก อิอิ)


ตถา: (เหมือนกัน, อย่างนั้น) นิบาต

วิญฺญูหิ: (อันวิญฺญู, ผู้รู้ .) วิญฺญู+หิ

วิญฺเญยฺยา: (พึงรู้, ควรทราบ) วิญฺเญยฺย+โย


มิตฺตทารา: (มิตรและภริยา .) มิตฺตทารา+โย ในมหารหนีติและธัมมนีติ แยกกันเป็น มิตฺตา ทารา

: (ด้วย, และ) นิบาต

พนฺธวา: (พวกพ้อง) พนฺธว+โย


..

ขอนำเอาคาถาเดียวกันนี้ จากคัมภีร์นีติอื่นอีก มาเปรียบเทียบเพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอักษรต่อไป


ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๑๐๗) มีข้อความทีค่อนข้างชัดเจน พอถือเอาเป็นแบบอย่างได้ ดังนี้


ทาสา ปญฺเจว โจรยฺย-

สขญาตฺยตฺตสทิสา;

ตถา วิญฺญูหิ วิญฺเญยฺยา,

มิตฺตา ทารา พนฺธวาฯ


ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๑๘๑) บาทคาถาที่ บทว่า วิญฺเญยฺย ควรเป็น วิญฺเญยฺยา เหมือนนีติสองนอกนี้.


ทาสา ปญฺเจว โจรยฺย-,

สขญาตตฺตสทิสา;

ตถา วิญฺญูหิ วิญฺเญยฺย,

มิตฺตา ทารา พนฺธวาฯ

..


จบ ทาสกัณฑ์


 

Keine Kommentare: