๒๗๒. เปรียบรัฐเหมือนต้นไม้ใหญ
มหารุกฺขสฺส ผลิโน, อามํ ฉินฺทติ โย ผลํ;
รสญฺจสฺส น ชานาติ, พีชญฺจสฺส วินสฺสติฯ
“เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล
ผู้ใดเก็บผลดิบมากิน
ผู้นั้นย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น
ทั้งพืชพันธุ์แห่งตนไม้นั้นก็ย่อมพินาศ.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๗๒, มหารหนีติ ๑๖๖, ธมฺมนีติ ๒๗๔, ขุ. ชา. ๒๘/๖๕)
ศัพท์น่ารู้ :
มหารุกฺขสฺส (ต้นไม้ใหญ่) มหารุกฺข+ส
ผลิโน (มีผล) ผลี+ส
อามํ (ดิบ) อาม+อํ
ฉินฺทติ (ตัด, เก็บ, สอย) ฉิทิ+อ+ติ+นิคคหิตอาคม รุธาทิคณะ กัตตุวาจก
โย (ผู้ใด) ย+สิ สัพพนาม
ผลํ (ผล) ผล+อํ
รสญฺจสฺส ตัดบทเป็น รสํ+จ+อสฺส (และรสแห่งต้นไม้นั้น), อสฺส วิเสสนะของ ผลสฺส
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ชานาติ (รู้, ทราบ) ญา+นา+ติ กิยาทิคณะ กัตตุวาจก
พีชญฺจสฺส ตัดบทเป็น พึชํ+จ+อสฺส (และพืชพันธุ์แห่งต้นไม้นั้น) อสฺส วิเสสนะ รุกฺขสฺส
วินสฺสติ (พินาศ, ขาดสูญ) วิ+นส-นาเส+ย+ติ ทิวาทิคณะ เอา ย ปัจจัยกับที่สุดธาตุ เป็นปุพพรูป ด้วยสูตรว่า ตถา กตฺตริ จ. (รู ๕๑๑)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen