๒๗๓. เปรียบรัฐดุจมหารุกโข
มหารุกฺขูปมํ รฏฺฐํ, อธเมฺมน ปสาสติ;
รสญฺจสฺส น ชานาติ, รฏฺฐญฺจสฺส วินสฺสติฯ
“รัฐเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่
พระราชาใดปกครองโดยไม่เป็นธรรม
พระราชานั้นย่อมไม่รู้จักรสแห่งรัฐนั้น
รัฐของพระราชานั้นก็ย่อมพินาศ.”
(กวิทปฺปณนีติ ๒๗๓, ธมฺมนีติ ๒๗๕, ขุ. ชา. ๒๘/๖๕ )
ศัพท์น่ารู้ :
มหารุกฺขูปมํ: (เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่) มหารุกฺขูปม+อํ, มหารุกฺข (ต้นไม้ใหญ่) ป., อุปม (เปรียบเหมือน, อุปมา) ค.
รฏฺฐํ: (รัฐ, ประเทศ, แว้นแคว้น) รฏฺฐ+อํ นป.
อธเมฺมน: (โดยไม่เป็นธรรม) อธมฺม+นา
ปสาสติ: (สั่งสอน, ปสาสน์, ปกครอง) ป+สาส+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
รสญฺจสฺส: ตัดบทเป็น รสํ+จ+อสฺส (และรสแห่งรัฐนั้น) อสฺส วิเสสนะของ รฏฺฐสฺส
น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ชานาติ: (รู้, ทราบ) ญา+นา+ติ กิยาทิคณะ กัตตุวาจก
รฏฺฐญฺจสฺส: ตัดบทเป็น รฏฺฐํ+จ+อสฺส (และพืชพันธุ์แห่งต้นไม้นั้น) ราชสฺส (รญฺโญ, ราชิโน)
วินสฺสติ: (พินาศ, ขาดสูญ) วิ+นส-นาเส+ย+ติ ทิวาทิคณะ เอา ย ปัจจัยกับที่สุดธาตุ เป็นปุพพรูป ด้วยสูตรว่า ตถา กตฺตริ จ. (รู ๕๑๑)
…..
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๗๕) บาทสุดท้ายมีศัพท์ต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
มหารุกฺขูปมํ รฏฺฐํ,
อธมฺเมน ปสาสติ;
รสญฺจสฺส น ชานาติ,
รฏฺฐญฺจาปิ วินสฺสติฯ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen