Dienstag, 13. April 2021

๓๑๐. ลูกของหญิงผู้มีบุญ

๓๑๐. ลูกของหญิงผู้มีบุญ


ตสฺสา โย ชายติ โปโส, สูโร โหส ทิสมฺปติ; 

ตาทิสา สุภคิยา ปุตฺโต, รชฺชมฺปิ อนุสาสติฯ


ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ในทิศทั้งปวง

เด็กชายใดย่อมเกิดจากหญิงเช่นนั้น

เด็กชายนั้นย่อมเป็นคนแกล้วกล้า

บุตรของหญิงผู้มีบุญเช่นนั้น

ย่อมอาจปกครองแม้รัชสมบัติได้.


(#กวิทัปปณนีติ อิตถีกัณฑ์ คาถาที่ ๓๑๐)



ศัพท์น่ารู้ :


ตสฺสา (ของหญิงนั้น) > ตา+ สัพพนาม

โย (…ใด) +สิ สัพพนาม

ชายติ (ย่อมเกิด) √ชน++ติ ทิวาทิ.​ กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น อา ด้วยโยควิภาคสูตรว่า ชนาทีนมา. (รู ๖๑๙)

โปโส (ชาย, บุรุษ) โปส+สิ

สูโร (ผู้กล้า, กล้าหาญ) สูร+สิ

โหติ (ย่อมเป็น) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ทิสมฺปติ (ผู้เป็นใหญ่ในทิศ, พระเจ้าแผ่นดิน) ทิสา+ปติ > ทิสมฺปติ+สิ เป็นปฐมา-หรืออาลปนะวิภัตติ ก็ได้

ตาทิสา, ตาทิสาย (ของหญิงเช่นนั้น) ตาทิสา+

สุภคิยา (ผู้โชคดี, คนมีบุญ) สุภคี+ 

ปุตฺโต (บุตร, ลูก) ปุตฺต+สิ

รชฺชมฺปิ ตัดบทเป็น รชฺชํ+อปิ (แม้ซึ่งความเป็นแห่งราชา) 

อนุสาสติ (ย่อมสั่งสอน, ปกครอง, อนุสาส์) อนุ+√สาส++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.



 

Keine Kommentare: