Donnerstag, 22. April 2021

๓๑๘. ลักษณะของเลขาที่ดี

๓๑๘. ลักษณะของเลขาที่ดี


สกึ วุตฺตคหิตตฺโต, ลหุหตฺโถ ชิตกฺขโร;

สพฺพสตฺถสมาโลกี, ปกฏฺโฐ นาม เลขโกฯ


"ผู้ใดที่ฟังครั้งเดียวจำได้แม่น,

จดบันทึกเร็ว รู้อักษรศาสตร์ ;

ดูหนังสือตำราทุกประเภทสม่ำเสมอ,

ผู้นั้น ชือว่า เป็นเลขาที่ดี.“


(กวิทปฺปณนีติ ๓๑๘)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สกึ: (ครั้งเดียว, หนเดียว) นิบาต

วุตฺตคหิตตฺโต: (จับใจความได้แม่น, ถอดความได้ด้วยคำที่เขาพูดครั้งเดียว) วุตฺตคหิตตฺต+สิ, แยกสมาสเป็น วุตฺต(ถูกกล่าวแล้ว)+คหิต (ถูกถือเอาแล้ว)+อตฺต (ตน) คำแปลในวงเล็บนั้น แปลเอาความตามนัยที่มาในจาณักยนีติ ที่ว่า ทุตฺตคหิตตฺโถ แยกเป็น ทุตฺต(วุตฺต)+คหิต+อตฺถ+สิ น่าจะเหมาะสมกว่า


ลหุหตฺโถ: (ผู้มีมือเร็ว, มือคล่อง, จดเร็ว, เขียนคล่อง) ลหุหตฺถ+สิ, ลหุ (เร็ว, คล่อง, เบา) + หตฺถ (มือ) 

ชิตกฺขโร: (ผู้มีอักษรอันชนะแล้ว, จบอักษรศาสตร์, รู้หลักอักษรถูกต้อง) ชิตกฺขร+สิ, ชิต (อันตนชนะแล้ว) + อกฺขร (อักษร)


สพฺพสตฺถสมาโลกี: (ดูหนังสือตำราทุกประเภทเป็นนิจ) สพฺพสตฺถ-สมาโลกี+สิ, สพฺพ (ทั้งปวง)+สตฺถ (หนังสือ, ตำรา) +สมโลกี (มีปกติดู, -เพ่ง, -อ่าน)


ปกฏฺโฐ: (ดียิ่ง, เก่ง) ปกฏฺฐ+สิ . 

นาม: (ชือว่า) นิบาต 

เลขโก: (เลขา, ผู้บันทึก) เลขก+สิ


..

ส่วนในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๑๐๔) มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้


สกึทุตฺต คหิตตฺโถ,

ลหุหตฺโถ ชิตกฺขโร;

สพฺพสตฺถ สมาโลกี,

ปกฏฺโฐ นาม เลขโก


..


วันนีมีศัพท์ใหม่ๆ ทีไม่ค่อยคุ้นเอาเสียเลย อย่างเช่น ลหุหตฺโถ (มือไว), ชิตกฺขโร (พิชิตอักษร, อักษรชนะ), สมาโลกี (มีปกติเพ่งดู, อ่านประจำ)  แปลเดาเอาทั้งนั้น ถูกบ้างผิดบ้าง คงให้อภัยกันนะครับ หรือท่านใดคิดได้คำแปลที่เหมาะสม ก็ทักทายมาได้นะครับ

 

Keine Kommentare: