Montag, 26. April 2021

๓๒๒. ยาม-รปภ.

๓๒๒. ยาม-รปภ.


อิงฺคิตาการตตฺตญฺโญ, พลวา ปิยทสฺสโน;

อปฺปมาที สทา ทกฺโข, ปตีหาโร อุจฺจเตฯ


"ผู้ใดรู้ความจริงของอาการตามที่เคลื่อนไหว,

มีกำลังวังชา ได้พบเห็นสิ่งอันน่ารักน่าพอใจ;

เป็นผู้ไม่ประมาท ขยันขันแข็งในกาลทุกเมื่อ,

ผู้นั้น ท่านผู้รู้เรียกว่า ปตีหาระ ยามเฝ้าประตู.“


(กวิทปฺปณนีติ ๓๒๒)

..


ศัพท์น่ารู้ :


อิงฺคิตาการตตฺตญฺโญ: (ผู้รู้ความจริงคืออาการที่เคลื่อนไป) อิงฺคิตาการตตฺตญฺญ+สิ, อิงฺคติ . ไป, ถึง, เป็นไป. อิงฺคต นป. การเคลื่อนไป, ลักษณะท่าทาง, อาการ, สัญลักษณ์. + อาการ . อาการ, ท่าทาง, ทำนอง, มารยาท. + ตตฺต นป. ความจริง, ความแท้, ธรรมชาติที่เป็นจริง; . ร้อนแล้ว, โพลงแล้ว + อญฺญ ? ขอแปลว่า รู้, ฉลาด


พลวา: (มีกำลัง, มีพลัง) พลวนฺตุ+สิ แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา § อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)

ปิยทสฺสโน: (พบเห็นสิ่งเป็นน่ารักที่พอใจ) ปิยทสฺสน+สิ


อปฺปมาที: (ไม่ประมาท) อปฺปมาที+สิ 

สทา: (ทุกเมือ) สพฺพ+ทา . (อัพยยศัพท์)

ทกฺโข: (คนขยัน) ทกฺข+สิ


ปตีหาโร: (ผู้นำกลับ, ผู้บอกข่าว, คนเฝ้าประตู, ยาม) ปติหาร+สิ , พจนานุกรมบาลี-ไทย ว่า ปฏิหรติ . นำกลับ, กลับลคืน; บอก, แจ้งให้ทราบ. ปฏิหาร . ประตู, คนเฝ้าประตู. : = โส (..นั้น) +สิ สัพพนาม

อุจฺจเต: (ถูกเรียกว่า, อันเขาเรียกว่า) √วจ++เต ภูวาทิคณะ กัมมวาจก แปลง เป็น อุ § วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) จฺย เป็น § ตสฺส จวคฺค... (รู ๔๔๗), ซ้อน จฺ § ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐)


..

ในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๑๐๘) มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้


อิงฺคิตาการตตฺตญฺโญ,

พลวา ปิยทสฺสโน;

อปฺปมาที สทา ทกฺโข,

ปติหาโร อุจฺจเตฯ

..

กวิทัปปณนีติ ปกิณณกกัณฑ์ คาถา ๓๒๒, ยาม-รปภ.


คำว่า ปตีหาโร, ปติหาโร (ปติหาระ) เป็นศัพท์ที่ไม่คุ้นเอาเสียเลย ตามศัพท์แปลว่า ผู้นำกลับ อาจจะหมายถูง ผู้นำสารทางราชการ หรือเปล่าไม่ทราบ, ส่วนในพจนานุกรมบาลี-ไทย มีศัพท์ว่า ปฏิหาร . แปลว่า ประตู, คนเฝ้าประตู, การนำกลับ, การกีดกั้น. คงจำได้คำแปลมาจาก อภิธาน. ๑๐๑๘ ว่า..ปจฺจาหาเร ปฏิหาโร, ทฺวาเร ทฺวารปาลเก. 

แปลว่า ปฏิหาร ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า การนำกลับ, ประตู, และ คนรักษาประตู (ยาม).


ก็ขอฝากไว้ให้ท่านผู้รู้และนักศึกษาช่วยค้นหาคำแปลที่เหมาะสมของคำว่า "ปติหาร" ต่อไป 




 

Keine Kommentare: