๓๒๔. เหตุทำลายโภคทรัพย์
สุราโยโค เวลาโล จ, สมชฺชจรณงฺคโต;
ขิฑฺฑาธุตฺโต ปาปมิตฺโต, อลโส โภคนาสกาฯ
เหตุทำให้ทรัพย์เสียหาย ๖ ประการ คือ:
๑. ดื่มสุรา
๒. เที่ยวกลางคืน
๓. เที่ยวดูการการแสดง
๔. เป็นนักเลงการพนัน
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร และ
๖. เกียจคร้านทำงาน
(กวิทปฺปณนีติ ๓๒๔, โลกนีติ ๑๓๙, ธมฺมนีติ ๒๒๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สุราโยโค (ประกอบสุรา, ดื่มสุรา, ขายเหล้า) สุราโยค+สิ
เวลาโล (ค่ำคื่น, วิกาล, เที่ยวกลาง) วิกาล+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สมชฺชจรณงฺคโต (เที่ยวดูการเล่น, เทียวดูงานมหรสพ) สมชฺชจรณงฺคต+สิ
ขิฑฺฑาธุตฺโต (นักเลงการพนัน) ขิฑฺฑาธุตฺต+สิ, ขิฑฺฑา อิต. (การเล่น, การร่าเริง, กีฬา), ธุตฺต ป. (นักเลง, นักเลงสกา)
ปาปมิตฺโต มีมิตรชั่ว, มีเพื่อนเลว, ปาปมิตร, ปาปมิตฺต+สิ, ปาป นป. (บาป, ชั่ว, เลว), มิตฺต ป. (มิตร, เพื่อน)
อลโส (เกียจคร้าน, สันหลังยาว) อลส+สิ
โภคนาสกา (เป็นเหตุทำให้โภคะพินาศ) โภคนาสก+โย, โภค ป. (โภคะ, ทรัพย์สิน) วิ. ภุชฺชตีติ โภโค (สิ่งที่บุคคลย่อมใช้สอย ชื่อว่า โภคะ) ภุช+ณ กัมมรูป กัมมสาธนะ, วุทธิ อุ เป็น โอ, แปลง ช เป็น ค; นาสก ป. (ทำลาย, ทำให้เสียหาย)
..
ในโลกนีติ (โลกนตีติ ๑๓๙) มีข้อความต่างกันดังนี้
สุราโยโค วิกาโล จ, สมชฺชจรณาลสํ;
ขิฑฺฑาธุตฺโต ปาปมิตฺโต, โภคนาสมุขา อิเมฯ
(แปล)
ทางแห่งความเสื่อมโภคะเหล่านี้ คือ
๑. ดื่มสุรา
๒. เที่ยวกลางคืน
๓. เที่ยวดูการละเล่นการแสดง
๔. เกียจคร้านทำงาน
๕. เป็นนักเลงการพนัน และ
๖. คบคนชั่วเป็นมิตร
ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๒๙) มีข้อความแต่งต่างกันออกไปอีกนิดหน่อยดังนี้
สุราโยโค วิกาโล จ, สมชฺชานฆรงฺคโต;
ขิฑฺฑธุตฺโต ปาปมิตฺโต, อลโสโส อิเม ชนา;
มหาโภคา วินสฺสนฺติ, หีนภาวสฺสิทํ ผลํฯ
(แปล)
ชนเหล่านี้ คือ
๑. คนดื่มสุรา
๒. คนเที่ยวกลางคืน
๓. คนมักไปโรงละคร
๔. คนเล่นการพนัน
๕. คนมีเพื่อนชั่ว และ
๖. คนเกียจคร้าน
ถึงมีโภคะมาก ก็จะพินาศ
นี้เป็นผลของความเสื่อม.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen