๒. ปีเกิด-ทีเคยศึกษา
ทฺวิโน ทฺวิเวก สากมฺหิ, ตมฺหิ ชาเตน ชาติยา;
ลงฺกาภารตอาทีสุ, วุฏฺฐปุพฺพ สุเตสินาฯ
ข้าพเจ้าเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๑ ในจังหวัดนั้น.
เคยศึกษาอยู่เกาะลังกาและอินเดียเป็นต้น.
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๒)
…..
ศัพท์น่ารู้ :
ทฺวิโน (แห่งสอง) ทฺวิ+ส
ทฺวิเวกสากมฺหิ (?) ขอแยกก่อนว่า ทฺวิ+เอก+สาก+สฺมึ คำว่า สาก แปลว่า ผัก, หญ้า แต่ในที่นี้มีสังขยาด้วย และกำลังกล่าวถึงการเกิด ก็น่าจะหมายถึง ศักราช, ไม่แน่ใจว่าเป็น จุลศักราช หรือ พุทธศักราช, จึงขอเดาเอาก่อนว่า พ.ศ. ๒๑๒๑. ท่านผู้รู้และนักศึกษามีความรู้ หรือมีคิดเห็นประการใด ขอเชิญแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ตามอัธยาศัยเถิด ขออนุโมทนาล่วงหน้า.
ตมฺหิ (..นั้น) ต+สฺมี
ชาเตน (เกิดแล้ว) ชน+ต > ชาต+นา ป.
ชาติยา (โดยชาติ, โดยกำเนิด) ชาติ+นา อิต.
ลงฺกาภารตอาทีสุ (ในประเทศ ท. มีลังกาและอินเดียเป็นต้น) ลงฺกา-ภารต-อาทิ+สุ
วุฏฺฐปุพฺพสุเตสินา (เป็นนักศึกษาเคยอยู่แล้ว) วุฏฺฐปุพฺพ-สุเตสี+นา, สุเตสี แปลว่า ผู้แสวดงหาสุตะ หมายถึง นักเรียน, นักศึกษา ป. ถ้า อิต. เป็น สุเตสินี, ส่วน วุฏฺฐปุพฺพ แปลว่า เคยอยู่แล้ว, ศัพท์ที่ประกอบกับ ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ เมื่อสมาสเข้ากับ ปุพฺพ แปลว่า เคย..เช่น ทิฏฺฐปุพฺพ เคยเห็นแแล้ว เป็นต้น
..
เมื่อวันก่อนผมใช้คำว่า "นิคมคาถา" มาคิดดูแล้วยังไม่ถูกต้องนัก เพราะถัดจากคาถาเหล่านี้ไป จะมี ปณาม และ ปฏิญฺญา คาถา ฉะนั้น จึงขออนุญาตเรียกคาถาชุดนี้ว่า อารมฺภกถา แปลว่า กถาเริ่มต้น ก็แล้วกัน.
อนึ่ง เมื่อวานหายหน้าไปหนึ่งวัน เว้นวรรคไปหนึ่งเพลา ต้องขออภัยทุกท่านด้วย เพราะเวลากระชันชิด คิดไม่ออกจริง ๆ คือแปลไม่ออกเอาเสียเลย บางช่วงต้องใช้ความคิดหลายตลบ กว่าจะออกมาได้ วันนี้ก็เหมือนกัน แปลพอเป็นแนวทางนำร่องเหมือนเดิมครับ.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen