๖. รจนาคัมภีร์
นิสฺสาย เปฏเก เจว, อเนกนีติโปตฺถเก;
พหุเล คนฺถเสฏฺเฐปิ, กโตยํ วิธุมานิโตฯ
"ข้าพเจ้าอาศัยพระไตรปิฏกทั้งหลาย
กับคัมภีร์นีติต่าง ๆ อีกมากมาย
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภคาถา ๒-๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นิสฺสาย (อาศัยแล้ว) นิ+√สิ-เสวายํ+ตฺวา+สิ แปลง อิ เป็น อา ด้วยมหาสูตร กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ซ้อน สฺ, แปลง ตฺวา เป็น ย ไดบ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑)
เปฏเก (ปิฏก, พระไตรปิฏก) เปฏก+โย
เจว (ด้วยนั่นเที่ว) สมูหนิบาต,
อเนกนีติโปตฺถเก (หนังสือนีติจำนวนมาก) อเนก-นีติ-โปตฺถก+โย, อเนก (มิใช่อันเดียว) นีติ (คัมภีร์นีติศาสตร์), โปตฺถก (หนังสือ, ตำรา)
พหุเล (จำนวนมากมาย) พหุล+โย
คนฺถเสฏฺเฐปิ (แม้คัมภีร์อันประเสริฐ, -ที่มีชื่อเสียง) คนฺถ (คัมภีร์, ตำรา) + เสฏฺฐ (ประเสริฐ, สุดยอด) > คนถเสฏฺฐ+โย, + อปิ (แม้) นิบาต
กโตยํ แยกเป็น กโต+อยํ, กร+ต > กต+สิ > กโต (ได้รจนาแล้ว ได้เขียนแล้ว) , อิม+สิ > อยํ (นี้, ปกรณ์นี้)
วิธุมานิโต (อันนักปราชญ์นับถือ, -ยกย่องแล้ว) วิธุมานิต+สิ
..
หรืออาจจะลองแปลทีละวลีว่า:
นิสฺสาย เปฏเก เจว, | อาศัยแล้ว ซึ่งพระไตรปิฏกด้วยนั่นเทียว
อเนกนีติ โปตฺถเก; | พร้อมทั้งหนังสือนีติจำนวนมากมาย
พหุเล คนฺถเสฏฺเฐปิ | และตำราอันประเสริฐจำนวนมาก
กโตยํ วิธุมานิโต | จึงได้รจนากวิทัปปณนีติที่นักปราชญ์ยกย่องแล้วนี้แล.
ข้อสังเกต ตั้งแต่คาถาที่ ๒ ถึงคาถาที่ ๖ เป็นประโยคเดียวกัน มีกิริยาคุมพากย์ตัวเดียวกัน คือ กโต (รจนาแล้ว) ส่วนประธานคือ อยํ (อยํ คนฺโถ = คัมภีร์..นี้) ประโยคนี้เป็นประโยคกัมมวาจก.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen