๙. เดือนห้าหน้าร้อน
‘‘องฺคาริโนทานิ ทุมา ภทนฺเต’’¹
‘‘ยถาปิ รมฺมโก มาโส, คิมฺหานํ โหติ พฺราหฺมณ;
อเต‘ว’ญฺเญหิ มาเสหิ, ทุมปุปฺเผหิ โสภติ’’ฯ²
‘‘วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค,
คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ คิมฺเห’’³
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้ทั้งหลาย
มีดอกและใบมีสีแดงดั่งถ่านเพลิง"¹
"ดูกรท่านพราหมณ์ เดือนห้าในคิมหันตฤดู
ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด.“²
"พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด"³
(กวิทปฺปณนีติ ๘/๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
องฺคาริโนทานิ ~ องฺคาริโน+อิทานิ (มีสีดั่งถ่านเพลิง) องฺคาร+อี > องฺคารี+โย
อิทานิ (บัดนี้, ตอนนี้) อิม+ทานิ ปัจจัย แปลง อิม เป็น อิ § อิมสฺสิ ถํทานิหโตเธสุ จ. (รู ๒๖๕)
ทุมา (ต้นไม้ ท.) ทุม+โย
ภทนฺเต (ท่านผู้เจริญ) ภทนฺต+โย ?
ยถาปิ (แม้ฉันใด) นิบาตบอกอุปมา
รมฺมโก (น่ารื่นรมย์, เดือนห้า) รมฺมก+สิ
มาโส (เดือน, มาส) มาส+สิ
คิมฺหานํ (ฤดูร้อน, คิมหันตฤดู) คิมฺห+นํ, คิมฺหาน+สิ, คิมฺห, คิมฺหาน แปลว่า ฤดูร้อน
โหติ (ย่อมมี) √หู+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก, หู-สตฺตายํ ในความมีความเป็น.
พฺราหฺมณ (ดูกรพราหมณ์) พฺราหฺมณ+สิ, อาลปนะ ให้ลบสิวิภัตติ
อเต‘ว’ญฺเญหิ ~ อติ+เอว+อญฺเญหิ, อเตว (ยิ่งนั่นเทียว) อติ+เอว อุปสัค, นิบาต, อญฺญ+หิ > อญฺเญหิ (อื่น) วิเสสนะของ มาเสหิ
มาเสหิ (กว่าเดือน ท.) มาส+หิ
ทุมปุปฺเผหิ (ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ท.) ทุม-ปุปฺผ+หิ
โสภติ (ย่อมงาม, งดงาม) √สุภ+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก สุภ-ทิตฺติยํ ในความรุ่งเรือง, -โสภเน ในความสวยงาม.
วนปฺปคุมฺเพ (ในพุ่มไม้ในป่า) วน+ปคุมฺพ > วนปฺปคุมฺพ+สฺมึ
ยถา (ฉันใด) นิบาติบอกอุปมา
ผุสฺสิตคฺเค (ที่มียอดบานแล้ว) ผุสฺสิต+อคฺค > ผุสฺสิตคฺค+สฺมึ
คิมฺหานมาเส (ในเดือนในฤดูร้อน) คิมฺหาน+มาส > คิมฺหานมาส+สฺมึ
ปฐมสฺมึ (เดือนแรก, เดือนต้น) ปฐม+สฺมึ
คิมฺเห (ในฤดูร้อน, หน้าร้อน) คิมฺห+สฺมึ
..
¹ ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๐ คาถาสุภาษิตของพระกาฬุทายี
² ขุ. ชา. ๒๗/๒๓๖๕ สัมภวชาดก
³ ขุ. ขุ. ๒๕/๗, ขุ. สุ. ๒๕/๓๑๗ รัตนสูตร
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen