Donnerstag, 20. Mai 2021

๑๐. การนอบน้อมและคำรับรอง

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺพาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า 

ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น.

 

๑๐. การนอบน้อมและคำรับรอง


ปณาม ปฏิญฺญา


วตฺถุตฺตยํ นมสิตฺวา, อาเจเร กวิปุงฺคเว;

กสฺสํ ทฺวาทสมาสานํ, พนฺธํ ตมฺมาสวสิกํฯ


"ข้าพเจ้าขอนมัสการพระรัตนตรัย และพระอาจารย์

ทั้งหลายผู้เป็นยอดแห่งกวีแล้ว จักรจนาเรื่องราว

ทีเป็นไปแห่งเดือนทั้ง ๑๒ ตามสมควรแก่เดือนนั้นๆ.“


(กวิทปฺปณนีติ, ปณาม ปฏิญฺญาคาถา)


…..


ศัพท์น่ารู้ :


วตฺถุตฺตยํ (หมวดสามแห่งวัตถุ, หมวดสามแห่งรัตนตรัย, พระรัตนตรัย) วตฺถุ-ตย > วตฺถุตฺย+อํ, วิ. ติณฺณํ สมูโห ตยํ (ประชุมแห่ง ชื่อว่า ตย) ตัทธิต. ติ+ ปัจจัย § สมูหตฺเถ กณฺณา. (รู ๓๗๙) แปลง อิ เป็น อย ด้วยมหาสูตรว่า § เตสุ วุทฺธิ.. (รู ๓๗๐), วิ. วตฺถุสฺส ตยํ วตฺถุตฺตยํ (หมวดสามแห่งวุตถุ ชื่อว่า วตฺถุตฺตย) สมาส.


นมสิตฺวา (นมัสการ, น้อมกราบ)  นมส+อิ+ตฺวา+สิ น่าจะเป็น นมสฺสิตฺวา ก็ได้ เพราะมีมนสฺส- วนฺทนานตฺยํ ในความไหว้และและการน้อมต้ว. ที่เป็น นมสิตฺวา น่าจะเป็นการลดอักษร หรือไม่ก็อักขรคลาดเคลื่อน.


อาเจเร (ซึ่งอาจารย์ .) อาเจร+โย 

กวิปุงฺคเว (กวีผู้ประเสริฐ, ยอดกวี) กวิ-ปุงฺคว > กวิปุงฺคว+โย 


กสฺสํ (จักกระทำ, จักรจนา) √กร+สฺสํ ? โดยทั่วไปเป็นกร+อิ+สฺสํ > กริสฺสํ (อหํ) ภูวาทิคณะ หรือ ตนาทิคณะ กัตตุวาจก

ทฺวาทสมาสานํ (แห่งเดือนทั้ง ๑๒ .) ทฺวาทส+มาส > ทฺวาทสมาส+นํ


พนฺธํ (ซึ่งการผูก, การประพันธ์, เรื่องราว) พนฺธ+อํ 

ตมฺมาสวสิกํ (ที่เป็นไปในเดือนแห่งเดือนทั้ง ๑๒ นั้น) ตํ()+มาส+วสิก > ตมฺมาสวสิก+อํ วิเสสนะของ พนฺธํ.


..

กวิทัปปณนีติ ปณาม ปฏิญญาคาถา ปมาณปฏิญญาคาถา


ต่อจะได้นำเสนอบรรยากาศความเป็นไปในทั้ง ๑๒ เดือนในสมัยโบราณ ครั้งกระโน้น ตามที่พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ได้กล่าวไว้แล้วในคาถานี้ อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะครับ.


 

Keine Kommentare: