๑. จิตตมาส-เดือนเมษาน่ารื่นรมย์
๑.
จิตฺตสมฺมตมาโส หิ, อเตวญฺเญหิ โสภติ;
รมฺมกมาโส รมฺมมาโส, เตเนว โวหาโร ภวิฯ
๒.
ตสฺมึ สุจิตฺตมาสมฺหิ, นาคทุมา สุปุปฺผเร;
ปุปฺผนฺติ อสนทุมา, วายนฺติ กานเน หิ เวฯ
๓.
สงฺกนฺตมหุสฺสโวปิ, ตมฺหิ มาสมฺหิ วตฺตเต;
คนฺโธทเกหิ อญฺโญญฺญํ, สิญฺจมานา สุโมทเรฯ
ยถาปิ รมฺมโก มาโส, คิมฺหานํ โหติ พฺราหฺมณ;
อเต‘ว’ญฺเญหิ มาเสหิ, ทุมปุเปฺผหิ โสภติฯ
สมฺพุทฺโธ จิตฺตมาสสฺส, กาฬปกฺเข อุโปสเถ;
ปาโตเยว สมาทาย, ปวรํ ปตฺตจีวรํ;
อนุกมฺปาย นาคานํ, นาคทีปมุปาคมิฯ
๑)
แท้จริงเชียว เดือนจิตตมาส (เมษายน)
เป็นเดือน ๕ เป็นเดือนที่น่ารื่นรมย์
ย่อมงดงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ นั้นเทียว
สมดังมีความบรรยายเอาไว้ว่า
๒)
ในเดือนเมษานั้น ต้นดอกบุนนาคบานสะพรั่ง
ต้นประดู่ย่อมออกดอกบานไสว ลมพัดกลิ่นหอม
ของดอกไม้โชยกลิ่นหอมไปทั่วป่าแล.
๓)
แม้งานบุญฉลองเทศกาลสงกรานต์
ย่อมเป็นไปในเดือนนี้เช่นกัน,
มหาชนเอาน้ำหอมรดสาดกันและกัน
ย่อมร่าเริงยินดีมีความสุขยิ่งนัก.
(ในพระบาฬีมีหลักฐานว่า)
"ดูกรท่านพราหมณ์ เดือนห้าในคิมหันตฤดู ย่อมสวย
งามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด.“²
ในวันทำอุโปสถกาฬปักษ์ดิถีแห่งเดือนจิตตมาส
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐได้ทรงถือเอาบาตรและจีวร
แต่เช้าตรู่นั่นเทียว ได้เสด็จไปสู่นาคทีปที่อยู่ของ
พวกนาคทั้งหลาย เพื่อทรงอนุเคราะห์พวกนาคแล.
(กวิทัปปณนีติ ปณามปฏิญญา ๑-๓)
…..
ศัพท์น่ารู้ :
จิตฺตสมฺมตมาโส (เดือนที่รู้กันดีแล้วว่าจิตรมาส) จิตฺต+สมฺมต+มาส > จิตฺตสมฺมตมาส+สิ
หิ (จริงอยู่, ที่แท้, จริงอย่างนั้น) นิบาต,
อเตวญฺเญหิ ~ อติ+เอว+อญฺเญหิ (ยิ่งกว่าด้วยเดือนเหล่าอื่นนั่นเทีย)
โสภติ (ย่อมงดงาม) √สุภ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
รมฺมกมาโส (เดือนเมษายน) รมฺมกมาส+สิ
รมฺมมาโส (เดือนที่น่ารื่นรมย์, -ที่ควรรื่นรมย์) รมฺมมาส+สิ
เตเนว ~ เตน+เอว (เพราะเหตุนั้นนั่นเทียว)
โวหาโร (โวหาร, คำพูด, คำล่ำลือ) โวหาร+สิ
ภวิ (มีแล้ว) √ภู+อิ ภูวาท. กัตตุ. อัชชตนี.
๒.
ตสฺมึ (นั้น) ต+สฺมึ
สุจิตฺตมาสมฺหิ (ในเดือนที่งดงาม, น่ารื่นเริงใจ) สุจิตฺตมาส+สฺมึ
นาคทุมา (ต้นนาคพุด, ต้นกากะทิง, กะถินพิมาน) นาคทุม+โย,
สุปุปฺผเร (เบ่งบาน, บานสะพรั่ง) สุ+√ปุปฺผ+อ+อนฺติ แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง ด้วยมหาสูตร § กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ภูวาทิ. กัตตุ. ปุปฺผ-วิกาเส ในความบาน
ปุปฺผนฺติ (ย่อมบาน, เบ่งบาน) √ปุปฺผ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
อสนทุมา (ต้นประดู่) อสน-ทุม+โย,
วายนฺติ (พัดไป, โชยกลิ่น) √วา+ย+อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.
กานเน (ในป่า) กานน+สฺมึ
หิ เว (นั้นแล, แท้จริงแล) สมูหนิบาต
๓.
สงฺกนฺตมหุสฺสโวปิ (แม้เทศกาลบุญใหญ่คือสงกรานต์) สงฺกนฺต+มหนฺต > มหา+อุสฺสว > สงฺกนฺตมหุสฺสว+สิ, > ..มหุสฺสโว+อปิ ศัพท์เป็นอุปสัค หรือนิบาติก็ว่า
ตมฺหิ (..นั้น) ต+สฺมึ
มาสมฺหิ (ในเดือน) มาส+สฺมึ
วตฺตเต (ย่อมเป็นไป) √วตฺตุ+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
คนฺโธทเกหิ (ด้วยน้ำอบน้ำหอม ท.) คนฺธ+อุทก > คนฺโธทก+หิ
อญฺโญญฺญํ (กะกันและกัน) อญฺโญญฺญ+อํ (ทำตัวอย่างไร ?) เห็นบ่อยแต่ อญฺญมญฺญํ
สิญฺจมานา (รดอยู่, รดน้ำด่ำหัว) สิญฺจมาน+โย
สุโมทเร (เพลิดเพลินยิ่ง, โมทนายิ่งนัก) สุ+√มุท+อ+อนฺติ แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง § กฺวจิ ธาตุ ฯ. (๔๘๘)
ยถาปิ รมฺมโก มาโส, คิมฺหานํ โหติ พฺราหฺมณ;
อเต‘ว’ญฺเญหิ มาเสหิ, ทุมปุเปฺผหิ โสภติฯ
(คาถานี้อธิบายไปแล้วเมื่อวันก่อน)
สมฺพุทฺโธ (พระสัมพุทธเจ้า) สมฺพุทฺธ+สิ
จิตฺตมาสสฺส (แห่งเดือนจิตรมาส, เดือนเมษายน) จิตฺตมาส+ส
กาฬปกฺเข (ข้างแรม, กาฬปักษ์) กาฬปกฺข+สฺมึ
อุโปสเถ (วันทำอุโปสถ, วัดพระ) อุโปสถ+สฺมึ
ปาโตเยว ~ ปาโต+เอว + ย อาคม (แต่เช้าตรู่นั่นเทียว)
สมาทาย (ถือเอาแล้ว) สํ+อา+√ทา+ตฺวา+สิ,
ปวรํ (อันบวร, อันประเสริฐ) ปวร+อํ วิเสสนะของ ปตฺตจีวรํ
ปตฺตจีวรํ (ซึ่งบาตรและจีวร) ปตฺตจีวร+อํ
อนุกมฺปาย (เพื่อการสงเคราะห์, อนุเคราะห์, เพื่อโปรด) อนุกมฺป+ส แปลง ส เป็น อาย ได้บ้าง § อาย จตุตฺเถกวจนสฺส ตุ. (รู ๓๐๔)
นาคานํ, (แก่นาค, พญานาค ท.) นาค+นํ
นาคทีปมุปาคมิ ~ นาคทีปํ+อุปาคมิ (เข้าไปแล้วสู่เกาะอันเป็นที่อยู่ของพวกพญานาค) นาคทีป+อํ, อุป+อ+√คมุ+อี > อุปาคมิ ภูวาทิ. กัตตุ. ทีฆะ อ อาคมหน้าธาตุ, รัสสะ อี วิภัตติเป็น อิ.
..
กวิทัปปณนีติ ปณามปฏิญญา คาถา ๑, ๒, ๓ เดือนเมษาน่ารื่นรมย์
วันนี้ ต้องขออภัยที่ค่อนข้างยาววว..คงไม่ต้องอ่านทั้งหมดนะครับ
ถ้าอ่านทั้งหมด ก็จะเกิดข้อสงสัยมากมาย อาจจะมีคำถามผุดขึ้นมาในใจเป็นร้อย..ขออนุโมทนาครับ พรุ่งนี้กลับมาพบกันใหม่.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen