๒. วิสาขมาส-เดือนพฤษภาคม
๔.
เวสาขวฺหยมาโส ตุ, สุวิสิฏฺโฐ สุปากโฏ;
โลกคฺคนาถํ ปฏิจฺจ, สนฺเตหิ อภิลกฺขิโตฯ
๕.
ตมฺหิ เวสาขมาสมฺหิ, จมฺปกาปิ สุปุปฺผเร;
โพธึ ทเกหิ สิญฺจิตฺวา, สชฺชนา สมฺปโมทเรฯ
๖.
วเน สุวโปตกาปิ, ปกฺขนฺทนฺติ ทิโสทิสํ;
วิกูชนฺตา สภาสาย, ชนโสตรสายนํฯ
ทุติเย ทิวเส ภตฺต-กาเล อาโรจิเต ชิโน;
รมฺเม เวสาขมาสมฺหิ, ปุณฺณามายํ มุนิสฺสโรฯ
๔)
ก็ เดือนที่ชื่อว่า วิสาขะ เป็นเดือนที่วิเศษเลิศปรากฏดีแล้ว
อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งอันเลิศของชาวโลก.
นักปราชญ์สัตบุรุษทั้งหลาย จึงกำหนดหมายรู้กันแล้ว.
๕)
ในเดือนเวสาขา(เดือนพฤษาคม)นี้ แม้ดอกจำปาทั้งหลาย
ย่อมออกดอกบานสะพรั่ง พุทธศาสนิกชนคนดีทั้งหลาย
พากันเอาน้ำรดต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้ ย่อมปราบปลื้มยินดีทั่วกัน
๖)
แม้ฝูงลูกนกแขกเต้าเหล่าปักษีในป่า
พากันร่าเริงโผผินบินไปจากทิศสู่ทิศ
ส่งเสียงร้องไพเราะเสนาะโสตของคน
ด้วยภาษาของตนๆ
(เดือนนี้ตามตำนานพระบาฬีเล่าว่า)
ในวันที่สอง เมื่อกาลแห่งภัตต์อันบุคคลกราบทูลแล้ว
พระผู้มีพระภาคชินเจ้่าทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ในดิถีวันเพ็ญแห่งวิสาขมาสอันน่ารื่นรมย์แล.
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๔-๖)
…..
ศัพท์น่ารู้ :
๔.
เวสาขวฺหยมาโส (เดือนชื่อว่่าวิสาขะ, พฤษภาคม) เวสาข+อวฺหย+มาส > เวสาขวฺหยมาส+สิ
ตุ (ส่วน) นิบาต
สุวิสิฏฺโฐ (วิเศษ, เลิศยิ่งนัก) สุวิสิฏฺฐ+สิ
สุปากโฏ (ปรากฏด้วยดี, ปรากฏชัดเจน) สุปากฏ+สิ
โลกคฺคนาถํ (ผู้เป็นที่พึ่งอันเลิศของสัตว์โลก) โลก+อคฺค+นาถ > โลกคฺคนาถ+อํ
ปฏิจฺจ (อาศัยแล้ว) ปติ+√อิ+ตฺวา+สิ แปลง ตฺวา เป็น รจฺจ ด้วยโยควิภาค § จนนฺเตหิ รจฺจํ. (รู ๖๔๓)
สนฺเตหิ (อันสัตบุรุษ ท.) สนฺต+หิ
อภิลกฺขิโต (กำหนดอย่างยิ่งแล้ว, กำหนดหมายแล้ว) อภิ+√ลกฺข+อิ+ต > อภิลกฺขิต+สิ
๕.
ตมฺหิ (..นั้น) ต+สฺมึ สัพพนาม
เวสาขมาสมฺหิ (ในเวสาขมาส, เดือนหก) เวสาขมาส+สฺมึ,
จมฺปกาปิ (แม้ต้นจำปา ท.) ~ จมฺปกา +อปิ, จมฺปก+โย > จมฺปกา
สุปุปฺผเร (บานสะพรั่ง) สุ+√ปุปฺผ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
โพธึ (ต้นโพธิ์, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้) โพธิ+อํ
ทเกหิ (ด้วยน้ำ ท.) ทก+หิ
สิญฺจิตฺวา (รดแล้ว) √สิจ+อ+อิ+ตฺวา+สิ รุทาทิ. ลง นิคคหิตอาคมด้วย
สชฺชนา (สาธุชน, คนดี ท.) สชฺชน+โย
สมฺปโมทเร (ชื่นชม, ยินดี, บันเทิงพร้อมทั่ว) สํ+ป+√มุท+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. อนฺติ เป็น เร
๖.
วเน (ในป่า) วน+สฺมึ
สุวโปตกาปิ ~ สุวโปกตา+อปิ (แม้ลูกนกแก้ว, ลูกนกแขกเต้า ท.) สุวโปตก+โย,
ปกฺขนฺทนฺติ (ย่อมบินไป, แล่นไป) ป+ขนฺท+อ+อนฺติ
ทิโสทิสํ (จากทิศสู่ทิศ, สู่ทิศน้อยทิศใหญ่) ทิโสทิส+อํ
วิกูชนฺตา (ชูคอขัน, ร้องอยู่) วิ+√กูช+อ+อนฺต > วิกูชนฺต+โย
สภาสาย (ด้วยภาษาของตน) สภาสา+นา,
ชนโสตรสายนํ (ส่งเสียงไพเราะโสตของชน) ชน+โสต+รสายน > ชนโสตรสายน+อํ
ทุติเย (ที่สอง) ทุติย+สฺมึ สังขยา
ทิวเส (ในวัน) ทิวส+สฺมึ
ภตฺตกาเล (ในกาลแห่งภัตต์, ในเวลาฉันภัตตาหาร) ภตฺตกาล+สฺมึ
อาโรจิเต (อัน..บอกแจ้งแล้ว) อา+√รุจ+อิ+ต > อาโรจิต+สฺมึ
ชิโน (ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า) ชิน+สิ
รมฺเม (อันน่ารื่นรมย์ใจ) รมฺม+สฺมึ
เวสาขมาสมฺหิ, (ในเดือนวิสาขะ) เวสาขมาส+สฺมึ
ปุณฺณามายํ (ในวันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง) ปุณฺณามา (ปุณฺณมา)+สฺมึ
มุนิสฺสโร (ผู้เป็นจอมแห่งพระมุนีทั้งหลาย, พระพุทธเจ้า) มุนิ+อิสฺสร > มุนิสฺสร+สิ
..
กวิทัปปณนีติ ปณามปฏิญญา คาถา 4-6 วิสาขบูชามาส
วันนี้ ก็ยาวอีกแล้ว คงไม่สามารถอธิบายศัพท์ได้ละเอียดได้ เอาพอผ่านๆ ไปก่อนก็แล้วกัน นำร่องๆ เหมือนเดิม.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen