๔. อาสาฬหมาส-เดือนกรกฏาคม
๑๐.
อาสาฬฺโห นาม มาโสปิ, อตีว วิสิฏฺโฐ ภวิ;
ปฏิสนฺธึ คณฺหิ พุทฺโธ, ตสฺมิญฺหิ มุนิ สุธีฯ
@ แม้เดือนชื่อว่า อาสาฬหะ เป็นเดือนที่วิเศษยิ่งนัก
เพราะว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดแห่งมุนีทั้งหลาย
ทรงเป็นจอมแห่งนักปราชญ์ ได้ทรงถือเอาปฏิสนธิ
ในครรภ์พระมารดาในเดือนอาสาฬหะที่ควรบูชานี้นั่นเทียว.
๑๑.
นิกฺขมิปิ จ สมฺพุทฺโธ, ธมฺมจกฺกํ ปวตฺตยิ;
อุปสมฺปทกมฺมมฺปิ, กโรนฺติ ตสฺมึปิ หิฯ
@ อนึ่ง พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงเสด็จออกอภิเนษกรม
ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว แม้พวกปัญจวัคคีย์
ก็ได้รับการอุปสมบทในศาสนาในเดือนนี้เหมือนกัน.
๑๒.
ปุนฺนาคทุมา ปุปฺผนฺติ, ปวายนฺติ ทิโสทิสํ;
อาทิจฺโจ ติฏฺฐติ ตมฺหิ, อุตฺตรายานโกฏิยํฯ
@ ต้นบุนนาคทั้งหลาย ออกดอกบานสะพรั่ง
โชยกลิ่นหอมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ พระอาทิตย์
ย่อมตั้งขึ้นที่ยอดเขาเบนตัวไปทางทิศเหนือ
ในเดือนอาสาฬหะที่ควรบูชานั้นแล.
(กวิทปฺปณนีติ ปณามปฏิญญา ๑๐-๑๒)
…..
ศัพท์น่ารู้ :
อาสาฬฺโห (อาสาฬหมาส) อาสาฬฺห+สิ
นาม (ชื่อว่า) นิบาต
มาโสปิ (แม้เดือน) ~ มาโส+อปิ
อตีว (ยิ่งนั่นเทียว) ~ อติ+เอว อุปสัค, นิบาต
วิสิฏฺโฐ (ประเสริฐ, เลิศ, วิเศษ) วิสิฏฺฐ+สิ
ภวิ (เป็นเป็น, มีแล้ว) √ภู+อี ภูวาทิ. กัตตุ.
ปฏิสนฺธึ (ซึ่งการปฏิสนธิ, การยั่งลงสู่พระครรภ์) ปฏิสนฺธิ+อํ
คณฺหิ (ถือเอาแล้ว, จับแล้ว) √คห+ณฺหา+อี คหาทิ. กัตตุ.
พุทฺโธ (พระพุทธเจ้า) พุทฺธ+สิ
ตสฺมิญฺหิ (ในเดือนนั้นแล) ~ ตสฺมึ+หิ
มุนิ (พระมุนี, ผู้สงบ) มุนิ+สิ
สุธี (ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) สุธี+สิ
๑๑.
นิกฺขมิปิ (เสด็จออกบวชแล้ว, อภิเนษกรมณ์) ~ นิกฺขมิ+อปิ, นิกฺขมิ = √นิ+กมุ+อี แปลง ก เป็น ข, ซ้อน กฺ ด้วยสูตรว่า § วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)
จ (ก็, อนึ่ง) นิบาต
สมฺพุทฺโธ (พระสัมพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้า) สมฺพุทฺธ+สิ
ธมฺมจกฺกํ (ซึ่งธรรมจักร, พระธรรมจักร) ธมฺมจกฺก+อํ
ปวตฺตยิ; (ให้เป็นไปแล้ว) ป+√วตฺตุ+ณย+อี ภูวาทิ เหตุกัตตุ.
อุปสมฺปทกมฺมมฺปิ, (แม้ซึ่งกรรมคือการอุปสมบท) ~ อุปสมฺปทกมฺมํ+อปิ
กโรนฺติ (ย่อมกระทำ) √กร+โอ+อนฺติ ตนาทิ. กัตตุ.
ตสฺมึปิ หิ (แม้ในเดือน..นั้นแล) ~ ตสฺมึ+อปิ หิ
๑๒.
ปุนฺนาคทุมา (ต้นบุนนาค ท.) ปุนฺนาค+ทุม > ปุนฺนาคทุม+โย
ปุปฺผนฺติ (ย่อมออกดอก, บานสะพรั่ง) √ปุปฺผ+อ+อนฺต ภูวาทิ. กัตตุ.
ปวายนฺติ (ย่อมพัดไปทั่ว, ส่งกลิ่น, ฟุ้งขจร) ป+√วา+ย+อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.
ทิโสทิสํ (สู่ทิศน้อยทิศใหญ่, จากทิศสู่ทิศ) ทิโสทิส+อํ, อลุตตสมาส.
อาทิจฺโจ (พระอาทิตย์) อาทิจฺจ+สิ
ติฏฺฐติ (ย่อมตั่งอยู่) √ฐา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ตมฺหิ (ใน..นั้น) ต+สฺมึ สัพพนาม.
อุตฺตรายานโกฏิยํ (ที่ยอดคือการเบนไปทางทิศเหนือ) อุตฺตรา+ยาน+โกฏิ > อุตฺตรายานโกฏิ+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen