๗. อัสสยุชมาส - เดือนตุลาคม
๑๙.
วสฺสิเก อสฺสยุชิมฺหิ, วิกสนฺติ อเนกธา;
ปทุมาทิทกชานิ, ปุปฺผานิ มนุญฺญานิ เวฯ
ในเดือนอัสสยุชมาส(เดือนตุลาคม)อันเป็นฤดูฝน
ดอกไม้ทั้งหลายทีีเกิดในน้ำมีดอกบัวเป็นต้นหลายชนิด
ย่อมบานสะพรั่งน่าชื่นใจแล.
๒๐.
มหาปทีปปนฺตีหิ, สกลมฺรนมาภูตเล;
ปูเชนฺติ โลกคฺคนาถํ, สาธโว โสคตาชนาฯ
ในพื้นแห่งแผ่นดินของประเทศพม่าทั้งสิ้น
สาธุชนคนดีผู้เลื่อมในพระสุคตเจ้า ย่อมบูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งอันเลิศของชาวโลก
ด้วยถ่องแถวแห่งประทีปใหญ่ทั้งหลาย.
๒๑.
ตโปธนา วิจรนฺติ, วสฺสํวุฏฺฐา ทิโสทิสํ;
สาธโว ทานโสณฺฑาว, สีตายนฺติ สุขนฺติ จฯ
ภิกษุและสามเณรทั้งหลายผู้มีทรัพย์คือตบะ
ผู้มีพรรษาอันอยู่จำแล้ว (ออกพรรษแล้ว)
ย่อมจาริกไปสู่ทิศต่างๆ สาธุชนทั้งหลาย
ผู้เป็นนักเลงในทาน ย่อมประพฤติตนดุจว่า
หนาวอยู่ และย่อมมีความสุข.
(กวิทปฺปณนีติ ปฏิญญากถา ๑๙-๒๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
วสฺสิเก (อันเป็นไปในฤดูฝน, อันประกอบด้วยฤดูฝน) วสฺสิก+สฺมึ
อสฺสยุชิมฺหิ (ในอัสสยุชมาส, เดือนตุลาคม) อสฺสยุช+สฺมึ
วิกสนฺติ (ย่อมบาน, เบ่งบาน) วิ+√กส+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
อเนกธา (หลายชนิด) อเนก+ธา ปัจจัยในอรรถตติยาวิภัตติ
ปทุมาทิทกชานิ (ที่เกิดในน้ำมีปทุมเป็นเป็น) ปทุม (ดอกบัว) +อาทิ (เป็นต้น) +ทกช (เกิดในน้ำ) +โย,
ปุปฺผานิ (ดอกไม้ ท.) ปุปฺผ+โย
มนุญฺญานิ เว (น่าชื่นใจแล) มนุญฺญ+โย, เว (แล) นิบาต
๒๐.
มหาปทีปปนฺตีหิ, (ด้วยถ่องแถวแห่งปทีปจำนวนมาก, -ใหญ่) มหา (ใหญ่, มาก)+ปทีป (ประทีป, ตะเกียง, โคมไฟ, )+ปนฺติ (แถว, แนว) + หิ
สกลมฺรนมาภูตเล (ในพื้นแห่งแผ่นดินของประเทศพม่าทั้งสิ้น) สกล (ทั้งสิ้น) +มรนมา (พม่า) +ภูตล (พื้นแห่งแผ่นดิน) +สฺมึ
ปูเชนฺติ (ย่อมบูชา) √ปูช+เณ+อนฺติ จุราทิ. กัตตุ.
โลกคฺคนาถํ (ผู้เป็นที่พึงอันเลิศแก่ชาวโลก) โลก (ชาวโลก) +อคฺค (อันเลิศ) +นาถ (ที่พึ่ง) +อํ,
สาธโว (สาธุชน, คนดี ท.) สาธุ+โย
โสคตาชนา (ชนผู้เลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ท. ?) โสคตาชน+โย
๒๑.
ตโปธนา (ผู้มีทรัพย์คือตบะ, ผู้บำเพ็ญตบะ, ฤษี, นักพรต ท.) ตโปธน+โย
วิจรนฺติ (ย่อมเทียวไป, ย่อมยจาริกไป) วิ+√จร+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.,
วสฺสํวุฏฺฐา (ผู้มีกาลฝนอันอยู่จำแล้ว, ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว) วสฺสํวุฏฺฐ+โย อลุตตสมาส
ทิโสทิสํ; (สู่ทิศน้อยทิศใหญ่, สู่ทิศต่างๆ) ทิโสทิส+อํ
สาธโว (สาธุชน, คนดี ท.) สาธุ+โย
ทานโสณฺฑาว (นักเลงในการให้ทาน, ผู้กล้าหาญในทาน ?) ทาน (การให้, ทาน) +โสณฺฑ (นักเลง) + โย, +เอว (นั่นเทียว) นิบาต,
สีตายนฺติ (ย่อมประพฤติตนดุจว่าหนาวอยู่) สีต+อาย+อ+อนฺติ, ลง อาย ปัจจัยหลังนาศัพท์ในอรรถว่าความประพฤติ (อาจารตฺเถ) § อาย นามโต กตฺตุปมานาทาจาเร. (รู ๕๓๖)
สุขนฺติ (ย่อมเป็นสุข, ย่อมมีสุข) √สุข+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
จ (ด้วย, และ) นิบาต
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen