๘. กัตติกมาส-เดือนพฤศจิกายน
๒๒.
กตฺติกมาสเสฏฺเฐปิ , สมฺปโมทนฺติ มานุชา;
โกสีตกีปุปฺผานิ จ, วิกสนฺติ วายนฺติ จฯ
จริงอยู่ในเดือนกัตติกมาส (เดือนพฤจิศกายน)
มนุษย์ทั้งหลายรื่นเริงเบิกบานใจ และดอก
บวบขมทั้งหลาย ทั้งบานและโชยกลิ่นหอม.
๒๓.
กถินมหาทานมฺปิ, ททนฺติ สาธโว ชนา;
ตทา จนฺทกิรโณปิ, อตีว ปชฺโชโต อหุฯ
สาธุชนคนดีทั้งหลาย ย่อมถวายทานใหญ่
มีผ้ากฐินเป็นต้นและในกาลนั้นรัศมีแห่งพระจันทร์
ย่อมส่องโชติช่วงชัชวาลยิ่งนัก.
๒๔.
อโหสิ หิมปาโต จ, อุตฺตรวาโต ปวายติ;
กตฺติกโชติฉโณปิ, อโหสิ ตสฺมิญฺหิ เวฯ
อนึ่ง ได้มีหิมะตก ลมหนาวทางตอนเหนือพัดผ่าน
และยังมีงานฉลองรื่นเริงในเดือนพฤศจิกายนอีกด้วย.
(กวิทปฺปณนีติ ปฏิญญา ๒๒-๒๔)
——
ศัพท์น่ารู้ :
๒๒.
กตฺติกมาสเสฏฺเฐปิ (แม้เดือนที่ประเสริฐชื่อว่ากัตติกามาส, -เดือนพฤศจิกายน) กตฺติ+มาส+เสฏฺฐ > กตฺติกมาสเสฏฺฐ+สฺมึ > กตฺติกมาสเสฏฺเฐ+อปิ
สมฺปโมทนฺติ (ชื่นชม, ยินดี, บันเทิงอย่างยิ่ง) สํ+ป+√มุท+อ+อนฺติ
มานุชา (พวกมนุษย์) มานุช+โย
โกสีตกีปุปฺผานิ จ (ดอกบวบขม ท.) โกสีตกี+ปุปฺผ > โกสีตกีปุปฺผ+โย (โกสีตกี ไม่พบ เจอแต่ โกสาตกี แปลว่า บวบขม จึงขอแปลตามนี้ไปก่อน)
วิกสนฺติ วายนฺติ จ (ย่อมบาน, ออกดอก และย่อมฟุ้งไป)
๒๓.
กถินมหาทานมฺปิ (มหาทานคือผ้ากฐิน) กฐินมหาทานํ+อปิ
ททนฺติ (ย่อมถวาย) √ทา+อ+อนฺติ ภูวาทิ. ชุโหตฺยาทินัย, กัตตุ. เทฺวภาวะ (อัพภาส)เป็น ทาทา และรัสสะ เป็น ททา แยก ลบ รวมสำเร็จรูป
สาธโว ชนา (เหล่าคนดี) สาธุ+โย, ชน+โย
ตทา (ในกาลนั้น, ครั้งนั้น) อ.
จนฺทกิรโณปิ (แม้รัศมีแห่งพระจันทร์) จนฺทกิรโณ+อปิ, จนฺท (พระจันทร์), กิรณ (รัศมี)
อตีว ปชฺโชโต (ส่องแสงสวยงามยิ่งนัก)
อหุ (ได้มีแล้ว) อ+√หู+อี ลบ อี วิภัตติ, และรัสสะ
๒๔.
อโหสิ หิมปาโต จ (หิมะตก ได้มีแล้ว) อ+√หู+อี + ส อาคม รัสสะและวุทธิ > อโหสิ (ได้มีแล้ว, ได้เป็นแล้ว) ภูวาทิ. กัตตุวาจก, หิมปาต+สิ > หิมปาโต (การตกแห่งหิมะ, หิมะตก).
อุตฺตรวาโต ปวายติ (ลมทางทิศเหนือ ย่อมพัดไป) อุตฺตร-วาต+โส > อุตฺตรวาโต (ลมจากทิศเหนือ), ป+√วา+ย+ติ > ปวายติ (ย่อมพัด) ทิวาทิ. กัตตุ.
กตฺติกโชติฉโณปิ, (แม้งานฉลองดาวกัตติกา, งานฉลองในเดือนพฤศจิกายน) กตฺติก-โชติ-ฉณ+สิ > กตฺติกโชติฉโณ+อปิ > กตฺติกโชติฉโณปิ
อโหสิ (ได้มีแล้ว)
ตสฺมิญฺหิ เว (ในเดือนนั้นนั่นแล) ตสฺมึ+หิ เว
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen