๓๓๐. วิธีปฏิบัติต่อโค
เย จ ขาทนฺติ โคมํสํ, มาตุมํสํว ขาทเร;
มเตสุ เตสุ คิชฺฌานํ, ทเท โสเต จ วาหเยฯ
ชนเหล่าใดเคี้ยวกินเนื้อของโค,
เขาชื่อว่าย่อมเคี้ยวกินเนื้อมารดาตนนั่นเทียว;
เมื่อโคเหล่านั้นตายลง พึงให้แก่ฝูงนกแร้ง,
หรือไม่ก็พึงสั่งให้คนเอาไปลอยน้ำทิ้งเสีย.
(กวิทปฺปณนีติ ๓๓๐, โลกนีติ ๑๕๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
เย (..เหล่าใด) ย+โย
จ (ก็) นิบาต
ขาทนฺติ (ย่อมเคี้ยวกิน) √ขาท-ภกฺขเน+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
โคมํสํ (ซึ่งเนื้อโค) โค-มํส+อํ
มาตุมํสํว ตัดบทเป็น มาตุมํสํ+เอว(อิว), มาตุมํส+อํ > มาตุมํสํ (ซึ้งเนื้อของมารดา), เอว (นั้นเทียว) นิบาต
ขาทเร (ย่อมเคี้ยวกิน) √ขาท-ภกฺขเน+อ+อนฺติ แปลง อนฺติ เป็น ได้บ้าง § กฺวจิ ธาตุ.. ฯ. (รู ๔๘๘)
มเตสุ (ตายแล้ว) มต+สุ
เตสุ (…เหล่านั้น) ต+สุ
คิชฺฌานํ (แก่นกแร้ง, อีแร้ง ท.) คิชฺฌ+นํ
ทเท (พึงให้) √ทา-ทาเน+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง § กฺวจิ ธาตุ..ฯ. (รู ๔๘๘)
โสเต (ในกระแสน้ำ) โสต+สฺมี
จ (ด้วย, และ) นิบาต
วาหเย (พึงลอย) √วห-ปาปุณเน+ณย+เอยฺย ภูวาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก
——
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๕๒) คาถานี้ก็มีการศัพท์เหมือนกัน ดังนี้
เย จ ขาทนฺติ โคมํสํ,
มาตุ มํสํว ขาทเร;
มเตสุ เตสุ คิชฺฌานํ,
ทเท โสเต จ วาหเยฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen