๓๓๒. คนโง่กับคนฉลาด
น โลเก โสภเต มูฬฺโห, เกวลตฺตปสํสโก;
อปิ สมฺปิหิเต กูเป, กตวิชฺโช ปกาสเตฯ
"คนโง่ที่ยกยอตัวเองฝ่ายเดียว
ย่อมไม่งาม ในโลกใบนี้;
ขนาดเขาถูกครอบไว้ในหลุมบ่อ,
มีความรู้หน่อย ก็ป่าวร้องไปทั่ว.“
(กวิทปฺปณนีติ ๓๓๒, มหารหนีติ ๘๔, ธมฺมนีติ ๒๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ
โสภเต (ย่อมงาม) √สุภ-ทิตฺติหึสาสุ+อ+เต ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
มูฬฺโห (คนหลง, งมงาย, โง่เขลา) มูฬฺห+สิ
เกวลตฺตปสํสโก (คนยกย่อง-, ชมเชย-, สรรเสริญตนเท่านั้น) เกวลตฺตปสํสก+สิ, เกวล (ล้วนๆ, ทั้งดุ้น, ทั้งเพ, ฝ่ายเดียว), อตฺต (ตน, ตัวเอง), ปสํสก (ยกย่อง, สรรเสริญ)
อปิ (แม้) อุปสัคในอรรถติเตียน
สมฺปิหิเต (ถูกปิดไว้, ถูกครอบไว้) สมฺปิหิต+สฺมึ
กูเป (หลุม, บ่อ) กูป+สฺมึ
กตวิชฺโช (ผู้มีวิชาอันตนกระทำแล้ว, คนได้เรียนแล้ว, คนมีความรู้แล้ว, คนเรียนจบแล้ว) กตวิชฺช+สิ วิ. กตา วิชฺชา เยนาติ กตวิชฺโช (ผู้ที่ได้เรียนวิชาแล้ว ชื่อว่า กตวิชชะ) ตติยาพหุพพี.
ปกาสเต (ย่อมประกาศ, ปรากฏ, ชี้แจง, ป่าวร้อง, โฆษณา, แสดง, อวดอ้าง) ป+√กาส-ปกาสเน+อ+เต ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
..
ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๔) เฉพาะในบาทคาถาที่ ๓ ที่ประกอบวิภัตติต่างกัน ดังนี้
น โลเก โสภเต มุฬฺโห,
เกวลตฺตปสํสโก;
อปิ สมฺปิหิโต กูเป,
กตวิชฺโช ปกาสิโตฯ
..
กวิทัปปณนีติ ปกิณณกกัณฑ์ คาถา ๓๓๒, คนโง่ชอบโอ้อวด
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen