Donnerstag, 11. November 2021

๘.ถึงไกลก็ควรไป

. ถึงจะไกลก็ควรไป


ปณฺฑิโต สุตสมฺปนฺโน, ยตฺถ อตฺถีติ เจ สุโต,

มหุสฺสาเหน ตํ ฐานํ, คนฺตพฺพํว สุเตสินาฯ


@ หากได้ยินมาว่า มีนักปราชญ์ผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิชาความรู้ มีอยู่ ที่ใด,

ผู้แสวงหาความรู้ ควรไปสู่ที่นั้นให้จงได้ 

ด้วยความอุตสาหะอันแรงกล้าเถิด.


(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ )


..


ศัพท์น่ารู้ :


ปณฺฑิต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ ) มีวิเคราะห์ว่า ปณฺฑาย อิโต คโต ปวตฺโตติ ปณฺฑิโต. (ผู้ชื่อว่า บัณฑิต เพราะอรรถว่า ไปแล้ว คือเป็นไปแล้วด้วยปัญญา) ปณฺฑา+√อิ+ > ปณฺฑิต+สิ, เป็นสมาส. ) วิ. สญฺชาตา ปณฺฑา เอตสฺสาติ ปณฺฑิโต, (ผู้ชื่อว่า บัณฑิต เพราะอรรถว่า ปัญญาเกิดขึ้นแก่เขา) ปณฺฑา+อิต ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต ตามนัยของสัททนีติ สุตตมาลา และนิรุตติทีปนี.  ) ปณฺฑติ ญาณคติยา คจฺฉตีติ วา ปณฺฑิโต (อีกอย่างหนึง ผู้ชื่อว่า บัณฑิต เพราะอรรถว่า เขาย่อมไปตามคติแห่งปัญญา) √ปฑิ+อิ+ เป็นนามกิตก์. (ดูมงคลัตถทีปนี ภาคที่ ข้อ ๑๘.)

สุตสมฺปนฺโน (ผู้ถึงพร้อมด้วยสุตะ) สุต+สฺมปนฺน > สุตสมฺปนฺน+สิ

ยตฺถ = ยสฺมึ ฐาเน (ในที่ใด)

อตฺถีติ = อตฺถิ+อิติ (ว่า...มีอยู่ )

เจ (ถ้าว่า, ผิว่า) นิบาตกำหนดความสงสัย

มหุสฺสาเหน (ด้วยความอุตสาหะใหญ่, พยายามเต็มที่) มหนฺต+อุสฺสาห > มหุสฺสาห+นา

ตํ ฐานํ (ที่นั้น) +อํ, ฐาน+อํ

คนฺตพฺพํว = คนฺตพฺพํ+เอว  (พึงไป นั่นเทียว)

สุเตสินา (ผู้มีปกติแสวงหาความรู้, นักศึกษา) สุต+เอสี > สุเตสี+นา ตติยาวิภัตติ, สุเตสี พึงเทียบกับ มเหสี (ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่). ศัพท์ว่า เอสี = อีส+ณี วิ. เอสิตุํ สีลมสฺสาติ เอสี (การแสวงหาเป็นปกติของผู้ใดมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า เอสี) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ, อีส ธาตุพบในธาตฺวัตถสังคหะว่า อีโส ทานคติอุญฉ-, หึสาทสฺสนอิสฺสเร (อีส ธาตุย่อมเป็นไปในอรรถว่า ให้, ไป, แสวงหา, เบียดเบียน, ดู และ เป็นใหญ่). วิเคราะห์นี้ผมว่าเองตามหลัก หากผิดขอท่านผู้รู้กรุณาทักท้วงด้วยเถิด.


..



 

Keine Kommentare: