๑๕. กบในกะลา
อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ, พหุํ มญฺญติ มานวา;
สินฺธูทกํ อปสฺสนฺโต, กูเป โตยํว มณฺฑุโกฯ
“คนที่มีความรู้น้อย มักถือตัว
ย่อมสำคัญความรู้นิดหน่อยว่ามาก,
เหมือนกบน้อยไม่เคยเห็นน้ำทะเล
เห็นแต่น้ำในบ่อ ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๕, ธัมมนีติ ๖๒, กวิทัปปณนีติ ๘๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อปฺปสฺสุโต (ผู้มีสุตะน้อย, คนมีความรู้น้อย) อปฺป (น้อย, นิดหน่อย) +สุต (ฟัง, ความรู้) > อปฺปสฺสุต+สิ, คนรู้น้อยหรือฟังมาน้อย ในที่นี้หมายเอานวังคสัตถุศาสน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ) คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ (องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖)
สุตํ (สุตะ, สูตร, ความรู้) สุต+อํ
อปฺปํ (ที่น้อย) อปฺป+อํ
พหุํ (มาก, เยอะ) พหุ+อํ
มญฺญติ (ย่อมรู้, ย่อมสำคัญ) √มน-ญาเณ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ. แปลง นฺย เป็น ญ ซ้อน ญฺ
มานวา (ผู้มีมานะ) มานวนฺตุ+สิ, มาจาก มาน+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต วิ. มาโน อสฺส อตฺถีติ มานวา (มานะ ของชนนั้น มีอยู่ เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า มานวา, มานวันตุ )
สินฺธูทกํ (น้ำในทะเล, น้ำทะเล, มหาสมุทร) สินฺธุ+อุทก > สินฺธูทก+อํ
อปสฺสนฺโต (ไม่เห็นอยู่, ยังไม่เห็น) ทิส > ปสฺส+อ+อนฺต > ปสฺสนฺต, น+ปสฺสนฺต > อปสฺสนฺต+สิ
กูเป (หลุม, บ่อ) กูป+สฺมึ
โตยํว = โตยํ+อิว (ซึ่งน้ำ+เพียงดัง)
มณฺฑุโก (กบ, มัณฑุกะ) มณฺฑุก+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen