๑๗. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
พฺยตฺต ปุตฺร กิมลโส, อพฺยตฺโต ภารหารโก;
พฺยตฺตโก ปูชิโต โลเก, พฺยตฺต ปุตฺร ทิเน ทิเนฯ
“แน่ะบุตรผู้ฉลาด เจ้าจะเกียจคร้านไปทำไม?,
ที่แท้ คนโง่ ต้องแบกหามทำงานหนัก;
คนมีปัญญา ย่อมได้รับการบูชาในโลก,
ลูกรักเอ่ย เจ้าจงศึกษาหาความรู้ทุกๆวันเถิด.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๗, ธัมมนีติ ๑๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
พฺยตฺต (ผู้ฉลาด, ผู้มีปัญญา) พฺยตฺต+สิ เป็นอาลปนวิภัตติ ลบ สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู
ปุตฺร (แน่ะบุตร, ลูกเอ่ย) ปุตฺร+สิ เป็นอาลปนวิภัตติ, มาจาก ปุ-ตฺรณฺ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ฉทาทีหิ ตตฺรณฺ. แปลว่า ลง ต-ตฺรณฺ ปัจจัย หลังธาตุมี ฉท เป็นต้น (รู ๖๖๖) วิเคราะห์ว่า ปุนาตีติ ปุตฺโต, ปุตฺโร. (ชื่อว่า ปุตฺต, ปุตฺร เพราะอรรถว่า ชำระ พ่อแม่ให้สะอาด) ศัพท์อื่นที่ลงปัจจัยคู่แฝดนี้มีอีกมาก เช่น ฉตฺตํ, ฉตฺรํ (ร่ม), จิตฺตํ, จิตฺรํ (จิต), สุตฺตํ, สุตฺรํ (ด้าย), สุตฺตํ (อาหาร), โสตํ, โสตฺรํ (หู), เนตฺตํ, เนตฺรํ (นัยน์ตา), ปวิตฺตํ, ปวิตฺรํ (ความดี, การชำระ), ปตฺตํ, ปตฺรํ (การถึง), ปตฺโต, ปตฺโร (บาตร), ตนฺตํ, ตนฺตรํ (แผ่ขยาย) เป็นต้น.
กิมลโส = กึ+อลโส (ทำไม+เกียจคร้าน)
อพฺยตฺโต (คนไม่ฉลาด, คนโง่) น+พฺยตฺต > อพฺยตฺต+สิ
ภารหารโก (ผู้นำไปซึ่งภาระ, คนแบกหาม, คนทำงานหนัก) ภาร+หารก > ภารหารก+สิ
พฺยตฺตโก (คนฉลาด, คนมีปัญญา) พฺยตฺตก+สิ
ปูชิโต (ผู้ถูกบูชา, ผู้ได้รับการบูชา) ปูชิต+สิ
โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ
พฺยตฺต (ผู้ฉลาด, ผู้มีปัญญา) พฺยตฺต+สิ ปฐมาวิภัตติ เป็น อวิภัตติกนิทเทส (เป็นศัพท์แสดงการไม่ประกอบวิภัตติ), มาจาก วิ+อญฺช-คติยํ+ต ปัจจัยในกิตก์ ๑) วิ. ว่า: พฺยญฺชยตีติ พฺยตฺโต. (ผู้ถึงแล้วโดยวิเศษ ชื่อว่า พฺยตฺต) ซ้อน ต ปัจจัยด้วยสูตรว่า ภุชาทีนมนฺโต โน ทฺวิ จ. (รู ๕๖๐) ๒) มาจาก วิ+อตฺต เป็นสมาส วิ. ว่า: วิสิฏฺโฐ อตฺตา ยสฺสาติ วา พฺยตฺโต. (ตนของผู้ใด เป็นเลิศ มีอยู่ เหตุนัน ผู้นั้น ชื่อว่า พฺยตฺต) ที่มาวิเคราะห์ อภิธานัปปทีปิกา-ฏีกา คาถา ๒๒๘.
ปุตฺร (ลูกเอ่ย) ปุตฺร+สิ อาลปนวิภัตติ
ทิเน ทิเน (ทุกวัน) ทิน+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen