Mittwoch, 24. November 2021

๑๘.พ่อแม่เป็นศัตรูได้อย่างไร?

๑๘. พ่อแม่เป็นศัตรูได้อย่างไร?


มาตา เวรี ปิตา สตฺรุ, เยน พาเล สิกฺขิตา;

สภามชฺเฌ โสภนฺติ, หํสมชฺเฌ พโก ยถาฯ


มารดาเป็นผู้มีเวร บิดาชื่อว่าเป็นศัตรู 

เพราะไม่ยังบุตรธิดาให้ศึกษาแต่เยาว์วัย,

บุตรทั้งหลายย่อมไม่สง่างามในสังคม, 

ดุจนกกระยางอยู่ท่ามกลางฝูงหงส์ ฉะนั้น.“


(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๘, กวิทัปปณนีติ ๖๔, จาณักยนีติ )


..


ศัพท์น่ารู้ :


มาตา (มารดา, แม่) มาตุ+สิ 

เวรี (ผู้มีเวร) เวรี+สิ

ปิตา (บิดา,​ พ่อ) ปิตุ+สิ

สตฺรุ (ศัตรู) สตฺรุ+สิ

เยน = เยน การเณน (เพราะเหตุใด) +นา สัพพนาม, (*เดิมเป็น เกน ได้แก้เป็น เยน ตามในกวิทัปปณนีติและจาณักยนีติ คิดว่าสมควรกว่า.)

พาเล (ในวันอ่อน, วัยเด็ก) พาล+สฺมึ

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สิกฺขิตา (ศึกษาแล้ว, เล่าเรียนแล้ว) มาจาก สิกฺขิต+โย แปลง โย เป็น อา, ศัพท์ว่า สิกฺขิต มาจากสิกฺข+อิ+, สิกฺข ธาตุย่อมเป็นไปในอรรถว่าถือเอาวิชา (วิชฺโชปาทานมฺหิ) + อิอาคม + ปัจจัย เป็น อตีตปัจจัยในกิตก์ คือลงอตีตกาล เป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่น่าสนใจ และควรรู้วิธีแปลงเป็นรูปต่าง ขึ้นอยู่กับว่า ปัจจัยนี้จะลงหลังธาตุอะไร ถ้าไม่มีการแปลงก็ให้ลง อิ อาคม หรือพูดอีกก็คือ ถ้าลง อิ อาคมก็ไม่ต้องแปลง ปัจจัย เช่นศัพท์ว่า สิกฺขิต นี้เป็นต้น

ดูตัวอย่างการแปลง ปัจจัย โดยย่อ :

. แปลง กับที่สุดธาตุเป็น อุตฺถ เช่น วุตฺโถ (อยู่แล้ว) √วส+

. แปลง เป็น เช่น กุทฺโธ (โกรธแล้ว) √กุธ+

. แปลง เป็น อิณฺณ และลบที่สุดธาตุ เช่น ติณฺโณ (ข้ามแล้ว) √ตร+

. แปลง เป็น กฺข, กฺก และลบที่สุดธาตุ เช่น สุกฺโข (แห้งแล้ว) √สุส+, ปกฺกํ (สุกแล้ว) √ปจ+

. แปลง เป็น นฺต และลบที่สุดธาตุ เช่น ปกฺกนฺโต (หลีกไปแล้ว) +√กมุ+

. แปลง เป็น อุตฺถ และแปลงที่สุดเป็น เช่น อารูฬฺโห (ขึ้นแล้ว) อา+√รห+

. แปลง กับทีสุดธาตุเป็น ริฏฺฐ เช่น อนุสิฏฺโฐ (สอนแล้ว) อนุ+√สาส+

. แปลง กับที่สุดธาตุเป็น  ฏฺฐ เช่น ตุฏฺโฐ (ยินดีแล้ว) √ตุส+

. แปลง กับที่สุดธาตุเป็น  คฺค เช่น ภคฺโค (หักแล้ว) √ภญฺช+

. แปลง เป็น อินฺน, อนฺน, อีณา และลบที่สุดธาตุ เช่น ภินฺโน (แตกแล้ว) √ภิท+, อุปฺปนฺโน (เกิดขึ้นแล้ว) อุ+√ปท+, ขีโณ (สิ้นแล้ว) √ขี+

สภามชฺเฌ (ในท่ามกลางสภา, ในที่ชุมชน, วงสังคม) สภา+มฺชฌ > สภามชฺฌ+สฺมึ

โสภนฺติ (ย่อมงาม, สง่างาม) สุภ++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

หํสมชฺเฌ (ในท่ามกลางหงส์) หํส+มชฺฌ > หํสมชฺฌ+สฺมึ

พโก (นกกระยาง) พก+สิ

ยถา (ฉันใด, เหมือน) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ.


..


 

Keine Kommentare: