๑๙. มันเป็นเอง
กณฺฎกํ คิริ โก ติกฺขติ, โก อญฺชนํ มิคกฺขิกํ,
*อุปฺปลํ ปลฺลเล โก สุคนฺธํ, กุลปุตฺตรูโป โก ปวตฺตติ,
สามํ ภาโว ฯ
“ใครหนอ เหลา ยอดเขาให้แหลม,
ใครหนอ แต้ม ตาเนื้อทรายให้แวววาว,
ใครหนอ แต่งกลิ่นอุบลในสระน้อยให้หอมกรุ่น,
ใครหนอ มีรูปงามดุจกุลบุตร เป็นไปอยู่,
สิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นเอง.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๑๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กณฺฎกํ (หนาม) กณฺฏฺก+อํ
คิริ, คิรึ (ภูเขา) คิริ+อํ
โก (ใคร) กึ > ก+สิ
ติกฺขติ (คม, แหลม, เหลา) ติกฺข+อ+ติ ? เคยเห็นแต่ ติกฺข แปลว่า ฉลาด, คม, หลักแหลม. เป็นคุณนาม
อญฺชนํ (ยาหยอดตา, แร่พลวง; ช้างประจำทิศ) อญฺชน+อํ , ศัพท์นี้ ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกันกับดอก อัญชัน หรือเปล่า?
มิคกฺขิกํ (นัยน์ตาของเนื้อทราย) มิค+อกฺขิก > มิคกฺขิก+อํ
อุปฺปลํ (บัว, ดอกบัว) อุปฺปล+อํ, *เดิมเป็น อุปฺปถํ (ทางผิด, นอกทาง) ได้แก้เป็น อุปฺปลํ เพื่อความเหมาะสมกับปริบทในคาถานี้.
ปลฺลเล (สระน้อย, ทะเลสาบน้อย) ปลฺลล+สฺมึ
สุคนฺธํ (มีกลิ่นหอม) สุคนฺธ+อํ
กุลปุตฺตรูโป (รูปแห่งกุลบุตร, มีรูปงามดุจกุลบุตร) กุล+ปุตฺต > กุลปุตฺต+รูป > กุลปุตฺตรูป+สิ
ปวตฺตติ (เป็นไป, ดำเนินไป, เคลื่นไป, เป็นอยู่, ดำรงอยู่) ป+√วตฺตุ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
สามํ (เอง) สาม+อํ
ภาโว (ความเป็น, ภาวะ) ภาว+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen