๒๑. ฟังอย่างไรให้ได้ความสุข?
สุสฺสูสา สุตสมฺปนฺโน, สุตา ปญฺญาย ปวฑฺฒติ,
ปญฺญาย อตฺถํ ชานาติ, ญาโต อตฺโถ สุขาวโหฯ
“เพราะตั้งใจฟัง จึงมีความรู้แน่น,
เพราะความรู้แน่น ย่อมเจริญด้วยปัญญา,
เพราะมีปัญญา ย่อมรู้อรรถะถูกตัอง,
อรรถะที่รู้ดีแล้ว เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข.”
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๒๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สุสฺสูสา (เพราะปรารถนาเพื่อจะฟัง, เพราะตั้งใจฟัง) สุสฺสูส+สฺมา, สุสฺสูส มาจาก สุ+ส ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ภุช-ฆส-หร-สุ-ปาทีหิ ตุมิจฺฉตฺเถสุ (รู ๕๓๔) แปลว่า ให้ลง ข ฉ ส ปัจจัย หลัง ภุช ฆส หร สุ และ ปา ธาตุเป็นต้น ในอรรถว่า ปรารถนาเพื่อสิ่งนั้น. วิธีทำตัว ให้เทฺวภาวะธาตุเป็น สุสุ+ส, ซ้อน สฺ เป็น สุสฺสุ+ส, ทีฆะเป็น สุสฺสู+ส, รวมเป็น สุสฺสูส.
สุตสมฺปนฺโน (ผู้ถึงพร้อมด้วยสุตะ, -ความรู้)
สุตา (เพราะสุตะ, ความรู้) สุต+สฺมา
ปญฺญาย (ด้วยปัญญา) ปญฺญา+นา
ปวฑฺฒติ (ย่อมเจริญทั่ว) ป+√วฑฺฒ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
อตฺถํ (ประโยชน์, ความเจริญ, เหตุ...) อตฺถ+อํ
ชานาติ (ย่อมรู้, ทราบ) √ญา+นา+ติ กิยาทิ. กัตตุ. กิริยาอาขยาต
ญาโต (รู้แล้ว, ทราบแล้ว) √ญา+ต > ญาต+สิ, กริยากิตก์
อตฺโถ (ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถะ) อตฺถ+สิ
ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๗๘๕ ท่านแสวงอรรถของ อตฺถ ศัพท์ไว้ดังนี้.
อตฺโถ ปโยชเน สทฺทา- ภิเธยฺเย วุทฺธิยํ ธเน;
วตฺถุมฺหิ การเณ นาเส, หิเต ปจฺฉิมปพฺพเตฯ
แปลว่า: อตฺถ ศัพท์ มีอรรถ ๙ อย่าง คือ : ปโยชน-ประโยชน์ ๑ สทฺทาภิเธยฺย-อรรถที่ศัพท์กล่าวถึง ๑ วุฑฺฒิ-ความเจริญ ๑ ธน-ทรัพย์ ๑ วตฺถุ-วัตถุ ๑ การณ-เหตุ ๑ นาส-ความพินาศ ๑ หิต-ประโยชน์เกื้อกูล ๑ และ ปจฺฉิมปพฺพต-ในภูเขาทิศตะวันตก ๑. (สุตฺตนิปาต อาลาวกสุตฺต ฐ.)
สุขาวโห (เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข, -นำสุขมาให้) สุข+อาวห > สุขาวห+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen