๓๔. ทุกคนจะเก่งเท่ากันได้ฤๅ
มณฺฑูเกปิ อุกฺเร สีเห, สูกเรปิ อุเห ทีเป;
พิฬาเร สทิเส พฺยคฺเฆ, สพฺพธีเร สิปฺปสเมฯ
“หากกบบันลือสีหนาทได้เหมือนราชสีห์,
หมูจักจรลีได้เหมือนเสือดาว,
แมวเก่งกาจเหมือนเสือโคร่ง,
ปราชญ์ทุกคน คงมีความรู้เท่าเทียมกันแน่!.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มณฺฑูเกปิ (แม้กบ, หากเขียด) มณฺฑูเก+อปิ
อุกฺเร (ส่งเสียง, บันลือ) อุกฺร+สฺมึ ศัพท์นี้ขออนุญาตเดาไปก่อนนะครับ.
สีเห (สีหะ, ราชสีห์) สีห+สฺมึ
สูกเรปิ (แม้หมู, หากสุกร) สูกเร+อปิ
อุเห (ไป, เก่งกาจ, กำจัด) อุห+สฺมึ ศัพท์นี้ขออนุญาตเดาไปก่อนอีกเช่นกันครับ.
ทีเป (เสือดาว; ประทีป, ตะเกียง; เกาะ, ทวีป; ที่พึ่ง; พระนิพพาน) ทีป+สฺมึ
พิฬาเร (แมว, เสือปลา) พิฬาร+สฺมึ
สทิเส (เช่นกับ, เหมือนกัน) สทิส+สฺมึ
พฺยคฺเฆ (เสือโคร่ง, พยัคฆ์) พฺยคฺฆ+สฺมึ
สพฺพธีเร (นักปราชญ์ทั้งหมด, ธีรชนทั้งปวง) สพฺพ+ธีร > สพฺพธีร+สฺมึ
สิปฺปสเม (ผู้เสมอด้วยความรู้, มีศิลปะเสมอกัน -เท่าเทียกัน) สิปฺป+สม > สิปฺปสม+สฺมึ
.....ในคาถานี้มีศัพท์ที่เป็นชื่อของสัตว์รวม ๖ ชนิดคือ
มณฺฑูก (กบ) ป., สีห (ราชสีห์) ป., สูกร (หมู) ป., ทีป (เสือเหลือง, เสือดาว) ป., พิฬาร (แมว, เสือปลา) ป., พฺยคฺฆ (เสืองโคร่ง) ป.
......ศัพท์เหล่านี้อาจมีคำไวพจน์ได้อีกหลายศัพท์ หรือ ศัพท์เดียวอาจความหมายได้อีกหลายอย่างก็ได้ ท่านที่สนใจสามารถค้นหาได้จากคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาเป็นต้น เพื่อพัฒนาความเป็นพหูสูตรให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้ครับ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen