Dienstag, 14. Dezember 2021

๓๕.สี่ผู้ไม่รู้อิ่ม

๓๕. สี่ผู้ไม่รู้อิ่ม


ติตฺติ ราชา ธนมฺหิ, ปณฺฑิโตปิ สุภาสิเต;

จกฺขุํปิ ปิยทสฺสเน, ชเล สาคโร ติตฺติฯ


พระราชา ย่อมไม่อิ่มในทรัพย์(อำนาจ)

แม้บัณฑิต ย่อมไม่อิ่มในคำสุภาษิต

จักษุเล่า ย่อมไม่อิ่มในการเห็นรูปที่น่ารัก

ทะเลสาคร หรือจะอิ่มในสายน้ำ!?!“.


(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๕, ธัมมนีติ ๓๕๕, กวิทัปปณนีติ ๙๖)


..


ศัพท์น่ารู้ :


(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ติตฺติ (ความอิ่ม, ผู้อิ่ม) ติตฺติ+สิ  ศัพท์ว่า ติตฺติ มาจาก ติส+ติ ปัจจัยในนามกิตก์ หรือ ติส-ปีณเน+ติ, (อ่านว่า: ติส ธาตุในความอิ่ม +ติ ปัจจัย), ลบทีสุดธาตุและซ้อน ด้วยสูตรว่า ภุชาทีนมนฺโต โน ทฺวิ . (รู. ๕๖๐), อันที่จริงศัพท์นี้เป็น อาการนาม แปลว่า ความอิ่ม แต่ในที่นี้แปลว่าเป็นวิกติกัตตา ใน ราชา จึงต้องแปลว่า ผู้อิ่ม เพื่อให้ได้ใจความ.

ราชา (พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน) ราช+สิ เป็น อการันต์ในปุงลิงค์ ส่วนมาก การันต์ในปุงลิงค์ ถ้าเป็น สิ วิภัตติให้แปลง สิ เป็น โอ เช่น ปุริโส (บุรุษ, ผู้ชาย) มาจาก ปุริส+สิ. แต่ราชาศัพท์ ให้แปลง สิ เป็น อา. ซึ่งศัพท์มีลักษณะเช่นนี้มีไม่มากนัก เรียกว่า กติปยศัพท์ 

ธนมฺหิ (ในทรัพย์) ธน+สฺมึ

ปณฺฑิโตปิ (แม้บัณฑิต) ปณฺฑิโต+อปิ

สุภาสิเต (ในคำที่กล่าวแล้วด้วยดี, คำสุภาาษิต) สุภาสิต+สฺมึ

จกฺขุํปิ (แม้จักษุ, ตา) จกฺขุ+อปิ, อํ น่าจำเป็น นิคคหิตอาคม เช่นคำว่า จกฺขุํ อุทปาทิ (จักษุ เกิดขึ้นแล้ว). แต่ในคัมภีร์อื่นๆ เป็น จกฺขุปิ ปิยทสฺสเน.

ปิยทสฺสเน (ในการเห็น-, ในการดูรูปอันเป็นที่รัก) ปิย+ทสฺสน > ปิยทสฺสน+สฺมึ

ชเล (ในน้ำ, สายชล) ชล+สฺมึ

สาคโร (ทะเล, สาคร) สาคร+สิ. คำว่า สาคร ในอภิธานัปปทีปกา-ฏีกา ท่านวิเคราะห์ให้การจำกัดความไว้ว่า ... สคเรหิ ราชกุมาเรหิ ขโต สาคโร, สานํ ธนานํ อากโรติ วา สาคโร, กสฺส โค, สาค สํวรเณ วา, อโรฯ (พื้นที่อันเหล่าราชกุมารพร้อมกับชาวเมือง ขุดไว้ ชื่อว่า สาคร, อนึ่ง บ่อเกิดแห่งทรัพย์อันเป็นของตน ชื่อว่า สาคร, แปลง เป็น , มาจาก สาค ธาตุในอรรถว่าป้องกัน, อร ปัจจัย.


ส่วนในคัมภีร์กวิทัปปณนีติ ในบาทคาถาสุดท้าย มีความต่างกัน ซึ่งถือว่าเหมาะสมกว่า เพราะถูกต้องตามคณะฉันท์  ดังนี้


ติตฺติ ราชา ธนมฺหิ, ปณฺฑิโตปิ สุภาสิเต;

จกฺขุํปิ ปิยทสฺสเน, ติตฺติ สาคโร ชเลฯ


..


 

Keine Kommentare: