๓๖. สวยแต่รูป-จูบไม่หอม
รูปโยพฺพน-สมฺปนฺนา, วิสาลกุลสมฺภวา;
วิชฺชาหีนา น โสภนฺติ, นิคนฺธา อิว กึสุกาฯ
„ผู้ถึงพร้อมด้วยรูปและวัย,
เกิดในตระกูลใหญ่ไพศาล;
แต่ขาดความรู้ ย่อมไม่งาม,
เสมือนดอกทองกวาวไร้กลิ่น.
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๖, ธัมมนีติ ๒๐, กวิทัปปณนีติ ๒๘, จาณักยนีติ ๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
รูปโยพฺพนฺนสมฺปนฺนา (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยรูปและความหนุ่มสาว) รูป (รูปร่าง, หน้าตา) +โยพฺพน (ความเป็นหนุ่ม) +สมฺปนฺน (ถึงพร้อมแล้ว) > รูปโยพฺพนสมฺปนฺน+โย แปลง โย เป็น อา ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเย. (รู ๖๙)
วิสาลกุลสมฺภวา (ผู้สมภพในตระกูลไพศาล, ผู้เกิดในตระกูลใหญ่, -สกุลดัง) วิสาล (กว้าง, ใหญ่, ไพศาล) +กุล (ตระกูล, สกุล) +สมฺภว (การเกิด, สมภพ) > วิสาลกุลสมฺภว+โย
วิชฺชาหีนา (ผู้ทรามด้วยวิชา, ขาดความรู้) วิชฺชา+หีน > วิชฺชาหีน+โย, หีน (เลว, ต่ำช้า, ทราม) ค. ๑) วิเคราะห์ว่า...วิชฺชา หีนา อสฺสาติ วิชฺชาหีโน (ความรู้ของเราเลว เหตุนั้น เขาชื่อว่า ผู้มีวิชาเลว) เป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, หรือ ๒. วิ. วิชฺชาย หีโน วิชฺชาหีโน (ผู้ทรามแล้ว ด้วยความรู้ ชื่อว่า วิชฺชาหีน, ผู้ทรามด้วยวิชา) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส.
น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
โสภนฺติ (ย่อมงาม, สวยงาม) √สุภ+อ+อนฺเต ภูวาทิ. กัตตุ. มาจาก สุภ-ทิตฺติยํ (สุภธาตุเป็นไปในอรรถว่ารุ่งเรือง งดงาม) + อ ปัจจัย เป็นหมวดภูวาทิคณะ + อนฺติ วิภัตติหมวดวัตตมานาวิภัตติ ให้วุทธิ (พฤทธิ์) อุ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู. ๔๓๔) แยก ลบ รวม สำเร็จรูป = โสภนฺติ แปลว่า ย่อมงดงาม ยอ่มรุ่งเรือง, ตัวอย่างเช่น ชนา อิมายํ สภายํ โสภนฺติ แปลว่า ชนา ชน ท. โสภนฺติ ย่อมงาม สภายํ ในที่ประชุม อิมายํ นี้)
นามกิตก์ = โสภา, โสภนํ, , กิริยากิตก์ = โสภิโต
นิคฺคนฺธา (ไม่มีกลิ่น, ไร้กลิ่น) นิคฺคนฺธ+โย, ศัพท์ที่เกี่ยวกับกลิ่น เช่น สุคนฺธ (กลิ่นหอม), ทุคฺคนฺธ (กลิ่นเหม็น)
อิว (ดุจ, ราวกะ, เหมือน) นิบาตบอกอุปมา.
กึสุกา (ต้นทองกวาว) กึสุก+โย, ต้นทองกวาวเป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยงาม แต่ไม่มีกลิ่น จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีวิชาความรู้ในคาถานี้.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen