๓๗. ไม่ควรดูถูกกัน
หีนปุตฺโต ราชามจฺโจ, พาลปุตฺโต จ ปณฺฑิโต;
อธนสฺส ธนํพหุ, ปุริสานํ น มญฺญถฯ
“ลูกคนต่ำศักดิ์ อาจได้เป็นราชอำมาตย์,
ลูกของคนโง่ อาจได้เป็นบัณฑิต,
ลูกคนจน อาจกลายเป็นเศรษฐี,
เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรดูถูกคนเหล่านั้น.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๗, ธัมมนีติ ๒๓๕, กวิทัปปณนีติ ๙๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
หีนปุตฺโต (ลูกคนเลว, ลูกชองคนมีตระกูลต่ำ) หีนปุตฺต+สิ, วิ. หีนสฺส ปุตฺโต หีนปุตฺโต (บุตรของคนต่ำช้า ชื่อว่า หีนปุตฺต) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส (หมายเหตุ: เดิมเป็น เป็น หีเน ปุตฺโต, ได้แก้เป็น หีนปุตฺโต ตามธัมมนีติและกวิทัปปณนีติ ถือว่าถูกต้องกว่า)
ราชามจฺโจ (อำมาตย์ของพระราชา, ราชอำมาตย์) ราช+อามจฺจ > ราชามจฺจ+สิ, วิ. รญฺโญ อมจฺโจ ราชมจฺโจ (อำมาตย์ ของพระราชา ชื่อว่า ราชมจฺจ) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
พาลปุตฺโต (ลูกคนโง่, บุตรคนพาล) พาลปุตฺต+สิ, วิ. พาลสฺส ปุตฺโต พาลปุตฺโต (บุตรของคนพาล ชื่อว่า พาลปุตฺต) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสเหมือนกัน
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถสมุจจยัตถะ-รวบรวม
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
อธนสฺส (ของคนไม่มีทรัพย์, ของคนจน) น+ธน > อธน+ส
ธนํพหุ (ผู้มีทรัพย์มาก) ธน+พหุ > ธนํพหุ+สิ, วิ. ธนํ พหุ อสฺสาติ ธนํพหุ. (คนจำนวนมาก มีแก่เขา เหตุนั้น เขา ชื่อว่า คนมีทรัพย์มาก) บาทคาถาที่สามนี้ ในธัมมนีติ บาทคาถานี้ เป็น อธนสฺส ปุตฺโต เสฏฺฐิ (บุตรของคนอาจกลายเป็นเศรษฐี)
ปุริสานํ (แก่/แห่งบุรุษ, ชาย, คน ท.) ปุริส+นํ, แปลหักจตุตถี/ฉัฏฐีเป็นกรรม ได้บ้าง
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
มญฺญถ (รู้, ทราบ) มน+ย+ถ, ทิวาทิ. กัตตุ.
วิธีทำตัวรูปโดยสังเขป: มญฺญถ มาจาก มน-ญาเณ มนธาตุ เป็นไปในความรู้ +ย ปัจจัยในหมวดกีธาตุ +เอถ วิภัตติ สัตตมี, ปฐมบุรุษ เอกวจนะ. แปลง นฺย เป็น ญ ซ้อย ญฺ รวมเป็น มญฺเญถ (พึงรู้, พึงทราบ), ที่เป็น มญฺญถ ในคาถานี้ เข้าใจว่า เพื่อต้องการรักษาฉันท์ อนึ่ง มญฺญถ ในที่นี้ ควรแปลว่า ดูถูก, ดูหมิ่น, เยียดหยาม จึงจะได้ความชัดเจน.
.......มน ธาตุถ้ามี อว, อติ อุปสัคคเป็นบทหน้า จะมีความหมายว่า ดูถูก, ดูหมิ่น เช่น อวมญฺญติ, อติมญฺญติ (ย่อมดูหมิ่น) ตัวอย่างเช่นในพระบาฬีที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบท ปาปวรรค ว่า
มาวมญฺเญถ ปาปสฺส, น มตฺตํ อาคมิสฺสติ,
อุทพินฺทุนิปาเตน, อุทกุมฺโภปิ ปูรติ,
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส, โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
บุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่า บาปมีประมาณเล็กน้อย จักไม่มาถึงตน,
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยดน้ำที่หยดลงที่นิดทีละหน่อย ฉันใด,
คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ย่อมเต็มได้ด้วยบาป ฉันนั้น.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen