Sonntag, 19. Dezember 2021

๓๘.คนโลภเรียนเหมือนคนฝัน

๓๘. คนโลภเรียนเหมือนคนฝัน


โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ,

มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, กเถตุมฺปิ อุสฺสเหฯ


ศิษย์ที่เรียนศิลปะทีละมาก ,

เพราะความโลภในความวิชา;

ย่อมไม่สามารถอธิบาย(สิ่งเรียนมาได้)

เป็นเหมือนคนเป็นใบ้ ที่เห็นความฝัน ฉะนั้น.“


(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๓๘, ธัมมนีติ ๒๗, กวิทัปปณนีติ ๙๘)


..


ศัพท์น่ารู้ :


โย (ใด) +สิ, สัพพนาม

สิสฺโส (ศิษย์, นักศึกษา) สิสฺส+สิ

สิปฺปโลเภน (ด้วยความโลภในศิลปะ, -วิชา, ความรู้) สิปฺป+โลภ > สิปปโลภ+นา, วิ. สิปเปสุ โลโภ = สิปฺปโลโภ (ความโลภในวิชา ชื่อว่า สิปปโลภะ) สัตตมีตัปปุริสสมาส.

พหุํว ตัดบทเป็น พหุํ+เอว (มากนั่นเทียว), พหุํ (มาก, มากมาย, เยอะแยะ, หลากหลาย, ) พหุ+อํ,ส่วน เอว เป็นนิบาตบอกการกำหนด จำกัด เจาะจง แปลว่า นั่นเทียว.

คณฺหาติ (ถือเอา, จับ, ยึด, เรียน) √คห+ณฺหา+ติ, คหาทิ. กัตตุ. ลง ณฺหา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า คหาทิโต ปฺปณฺหา. (รู ๕๑๗), ในเพราะ ณฺหา ปัจจัย ให้ลบ แห่ง คหธาตุ ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (๕๑๘) สำเร็จรูปเป็น คณฺหาติ, หรือ คณฺหติ ก็ได้ ในเพราะทำเป็นรัสสะ

ตํ สิปฺปํ (ซึ่งศิลปะนั้น) +อํ = ตํ (นั้น) สัพพนาม, สิปฺป+อํ = สิปฺปํ (ซึ่งศิลปะ) 

มูโคว ตัดบทเป็น มูโค+อิว (คนใบ้+ดุจ = เหมือนคนใบ้), มูโค (คนใบ้) มูค+สิ, ในอภิธานัปปทีปิกา-ฏีกา ท่านได้อธิบายความหมายศัพท์นี้ไว้ว่า....วตฺตุมสกฺกุเณยฺยตฺตา มิคสทิโสติ มูโค, อิสฺสูฯ (คนที่เป็นเหมือนกับเนื้อ เพราะความที่ไม่สามารถพูดได้ ชื่อว่า มูคะ, คนใบ้, แปลง อิ เป็น อู.), ส่วน อิว (เพียงดัง, เหมือน, ประดุจว่า) เป็นนิบาตบอกอุปมา

สุปินํ (ความฝัน) สุปิน+อํ 

ปสฺสํ (เห็นอยู่) √ทิส++อนฺต > ปสฺสนฺต+อํ

กเถตุมฺปิ ตัดบทเป็น กเถตุํ+อปิ (แม้เพื่ออันกล่าว, แม้เพื่อบอกเล่า) √กถ+เณ+ตุํ  = กเถตุํ. (กถ-วากฺเย กถ ธาตุในการกล่าว + เณ ปัจจัย หมวดจุราทิคณะ + ตุํ ปัจจัยในกิตก์)

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

อุสฺสเห (อาจ, สามารถ, เพียร, พยายาม) อุ+√สห++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.


..


 

Keine Kommentare: