๔๐. คบคนดีย่อมมีผล
ตคฺครญฺจ ปลาเสน, โย นโร อุปนยฺหติ;
ปตฺตาปิ สุรภิ วายนฺติ, เอวํ ธีรูปเสวนาฯ
„คนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้,
แม้ใบไม้ของเขา ย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไป,
การเข้าไปส่องเสพนักปราชญ์
ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้นแล.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๔๐, ธัมมนีติ ๑๔๗, กวิทัปปณนีติ ๗๘ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๔, ขุ. ชา. ๒๗/๒๑๕๒, ๒๘/๘๖๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ตครญฺจ ตัดบทเป็น ตครํ+จ, ตครํ (ไม้กฤษณา) ตคร+อํ, นป. จ (ก็, ส่วน) เป็นนิบาตบท. (หมายเหตุ. เดิมเป็น ตคฺครญฺช ได้แก้ใหม่ให้ตรงตามพระบาฬี เป็น ตครญฺจ)
ปลาเสน (ใบไม้, ปองร้าย, ตีเสมอ) ปลาส+นา, ป.
โย (ใด, บุคคลใด) ย+สิ สัพพนาม
นโร (คน, นรชน) นร+สิ, ป.
อุปนยฺหติ (ผูก, เข้าไปผูก, ผูกไว้, พัน, ห่อ) อุป+√นห-พนฺธเน+ย+ติ ทิวาทิคณะ กัตตุ. เอา หฺย เป็น ยฺห ด้วยการแบ่งสูตร (โยควิภาค) ว่า หวิปริยโย. จากสูตรเต็มว่า หวิปริยโย โล วา. (รู ๔๘๑)
ปตฺตาปิ (แม้ใบไม้ ท.) ปตฺตา+อปิ, ปตฺต+โย
สุรภิ, สุรภี (มีกลิ่นหอม) สุรภิ+โย (คงจะเป็นการรัสสะเพื่อรักษาฉันท์?) เพราะในชาดกฉบับไทยมีรูปเป็น สุรภี ส่วนฉบับพม่าเป็น สุรภิ. (หมายเหตุ. เดิมเป็น คนฺธํ ได้แก้เป็น สุรภิ เพื่อให้ตรงตามพระบาฬี, ส่วนในกวิทัปปณนีติเป็น สุรติ เข้าใจว่าคงเป็นการคัดลอกมาคลาดเคลื่อนเช่นกัน)
วายนฺติ (ฟุ้งไป, พัดโชย) √วา+ย+อนฺติ, ทิวาทิ. กัตตุ. วา ธาตุนีในสัททนีติ ธาตุมาลาแสดงไว้ว่า √วา-คติคนฺธเนสุ, วายติ, วาโย, วาโต. (วา ธาตุเป็นไปในอรรถว่าการไป,การสูดกลิ่น (ผูก), อุทาหรณ์ เช่น วายติ - ฟุ้งไป, วาย, วาต – ลม), ในธาต์วัตสังคหะแสดงไว้ว่า วา – ทิภู คติพนฺธคนฺเธสุ, จุ - สุขปฺปตฺติยํ คติเสวเน. (วา ธาตุที่เป็นทิวาทิคณะและภูวาทิคณะ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ไป, ผูก, ส่งกลิ่น, ที่เป็นจุราทิคณะย่อมเป็นไปในอรรถว่า ถึงความสุข, ไปและเสพ.
เอวํ (เหมือน, ดุจ) เป็นนิบาตบอกอุปมา หรือการเปรีบเทียบ
ธีรูปเสวนา (การคบหานักปราชญ์, -ผู้มีปัญญา) ธึร (นักปราชญ์) + อุปเสวนา (การเข้าไปเสพ, การคบหา) > ธีรูปเสวนา+สิ ลง สิ ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔) (เดิมเป็น ธีรุปเสวนา ได้ทำเป็นทีฆะ เป็น ธีรูปเสวนา เพื่อให้ถูกต้องตามพระบาฬี)
ปณฺฑิตกณฺโฑ นิฏฺฐิโต
จบหมวดว่าด้วยบัณฑิต
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen