๔๒. หัวใจคนดี จ-ภ-ก-ส
จช ทุชฺชนสํสคฺคํ, ภช สาธุสมาคมํ;
กร ปุญฺญมโหรตฺตึ, สร นิจฺจมนิจฺจตํฯ
“จงเลิกคลุกคลีกับคนชั่ว,
จงคบหาสมาคมกับคนดี,
จงสร้างกุศลตลอดวันและคืน,
จงระลึกถึงความไม่เที่ยงเป็นนิจ.“
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๔๒, ธัมมนีติ ๔๑๑, กวิทัปปณนีติ ๑๗๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
จช (จงสละ, เลิก) √จช+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
ทุชฺชนสํสคฺคํ (ซึ่งการคลุกคลี, คละเคล้ากับคนชั่ว) ทุชฺชน+สํสคฺค > ทุชฺชนสํสคฺค+อํ
ภช (จงคบหา, สมาคม) √ภช+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
สาธุสมาคมํ (ซึ่งการสมาคมกับคนดี) สาธุ+สมาคม > สาธุสมาคม+อํ
กร (จงทำ, สร้าง) = √กร+โอ+หิ, ตนาทิ. กัตตุ.
ปุญฺญมโหรตฺตึ: = ปุญฺญํ+อโหรตฺตึ (ซึงบุญ, ความดี+สิ้นกลางวันและกลางคืน) ปุญฺญ+อํ, อโหรตฺติ+อํ, โดยมากเป็น อโหรตฺตํ
สร (จงระลึก) √สร+อ+หิ, ภูวาทิ. กัตตุ.
นิจฺจมนิจฺจตํ ตัดบทเป็น นิจฺจํ+อนิจฺจตํ (ซึ่งความไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน+เป็นนิจ, เป็นนิตย์) นิจฺจ+อํ = นิจฺจํ (แน่นอน, เสมอ). นิจฺจ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต นิจฺจตา, น+นิจฺจตา > อนิจฺจตา+อํ วิ. นิจฺจสฺส ภาโว = นิจฺจตา (ความเป็นแห่งความเที่ยง ชื่อว่า นิจฺจตา), น นิจฺจตา = อนิจฺจตา (ความเป็นของเที่ยง หามิได้ ชื่อว่า อนิจฺจตา).
.....อธิบายธาตุทั้งสี่โดยสังเขป.
จช (จงสละ) = จช-จาเค+อ+หิ, จช ธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าสละ
ภช (จงคบ) = ภช-เสวายํ+อ+หิ, ภช ธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าคบหา
กร (จงทำ) = กร-กรเณ+อ+หิ, กร ธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าทำ
สร (จงระลึก) = สร-คติจินฺตายํ+อ+หิ, สร ธาตุ-เป็นไปในอรรถคิดคำนึง
ทั้ง ๔ ศัพท์นี้ + อ ปัจจัย + หิ วิภัตติ เป็นหมวดปัญจมีวิภัตติ (ปญฺจมี ตุ อนฺตุ, หิ ถ, มิ ม, ตํ อนฺตํ, สฺสุ วฺโห, เอ อามเส) ปรัสสบท, มัชฌิมบุรุษ, เอกวจนะ.
หลัง อ ปัจจัย ให้ลบ หิ วิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า หิ โลปํ วา. (รู.๔๕๒)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen