Dienstag, 28. Dezember 2021

๔๔.คนดีมีน้ำใจ

๔๔. คนดีมีน้ำใจ


ยถาปิ ปนสา ปกฺกา, พหิ กณฺฑกเมว ;

อนฺโต อมตสมฺปนฺนา, เอวํ สุชนหทยาฯ


ขนุนสุก ข้างนอกถึงมีหนามขรุขระ,

แต่ข้างในมีรสหวานอร่อยชื่นใจ ฉันใด,

คนดีมีน้ำใจ ก็ย่อมเป็นฉันนั้น.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๔๔, กวิทัปปณนีติ ๒๒๕)


ศัพท์น่ารู้ :


ยถาปิ (แม้ฉันใด) นิบาตบอกอุปมา

ปนสา (ขนุน .) ปนส+โย

ปกฺกา (สุก, แห้ง) ปกฺก+โย, ในกวิทัปปณนีติ เป็น ปนสปกฺกา แปลว่า ขนุนสุก. ส่วนในตันฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น ปนสาปกฺกา น่าจะแยกเป็น ปนสา ปกฺกา ดูจะเหมาะสมกว่า.

พหิ (ภายนอก) นิบาตลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ

กณฺฑกเมว เป็นสนธิ แยกเป็น กณฺฑกํ+เอว (หนามเท่านั้น, หนามล้วน, มีแต่หนาม) ส่วนในกวิทัปปณนีติ เป็น กณฺฏกเมว เป็นสนธิ แยกเป็น กณฺฏกํ+เอว. อันที่จริง กณฺฑก, กณฺฏก มีความแตกต่างกันดังนี้ กณฺฑ, กณฺฑก หมายถึง ปล้อง; ลูกศร; ภาค; หมวด; ตอน; โอกาส; ลำต้น; ฤดู. ส่วน กณฺฏ, กณฺฏก หมายถึง หนาม, กระดูก, ก้างปลา, ข้าศึก, ศัตรู, อุปสรรรถ. (คำแปลจากพจนานุกรมบาลี-ไทย)

(ด้วย, และ) นิบาตบท

อนฺโต (ภายใน, ที่สุด) นิบาตลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ

อมตสมฺปนฺนา (ถึงพร้อมด้วยอมตรส, มีรสหวานชื่นใจ) อมต+สมฺปนฺน > อมตสมฺปนฺน+โย, คำว่า อมต แปลว่า ความไม่ตาย, พระนิพพาน. แต่ในที่นี้ขนุนซึ่งมีรสเป็นอมตะ. 

เอวํ (ฉันนั้น) นิบาตบอกอุปไมย 

สุชนหทยา (ใจของคนดี, น้ำใจของคนดี, คนดีมีน้ำใจ) สุชน+หทย > สุชนหทย+โย


..


 

Keine Kommentare: