Freitag, 31. Dezember 2021

๔๖.ธรรมชาติของราชสีห์

๔๖. ธรรมชาติของราชสีห์


สีโห นาม ชิฆจฺฉาปิ, ปณฺณาทีนิ ขาทติ;

สีโห นาม กิโส จาปิ, นาคมํสํ ขาทติฯ


ชื่อว่า ราชสีห์ แม้จะหิว 

ย่อมไม่เคี้ยวกินใบไม้เป็นต้น

ชื่อว่า ราชสีห์ถึงแม้จะผอมโซ

ย่อมไม่เคี้ยวกินเนื้อช้าง.


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๔๖)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สีโห (สีหะ, ราชสีห์, ประเสริฐ) สีห+สิ, สีห = สห+, วิ. สหตีติ สีโห (สัตว์อันได้นามว่าราชสีห์ เพราะอรรถว่าย่อมอาจหาญอดทน), หรือ = หึส+, วิ. มิเค หึสตีติ สีโห (สัตว์ที่ได้ยนามว่า ราชสีห์ เพราะอรรถว่า ย่อมเบียดเบียนเนื้อทั้งหลาย) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิเคราห์อื่นอีก ขอท่านผู้สนใจหาค้นคว้าได้จาก อภิธาน-ฏีกาและสูจิเถิด.

นาม (ชื่อ, นาม) นิบาตเป็นไปใน อรรถ คือ ครห-ตำหนิ, ปสํสน-ยกย่อง, สญฺญา-ชื่อ, ปญฺห-ปัญหา.

ชิฆจฺฉาปิ (แม้เพราะความหิว, ถึงจะหิว) ชิฆจฺฉา+อปิ

ปณฺณาทีนิ (ใบไม้เป็นต้น) ปณฺณ+อาท > ปณฺณาทิ+โย

  (ไม่, หามิได้) นิบาต

ขาทติ (เคี้ยวกิน) √ขาท++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

กิโส (ผอม) กิส+สิ

จาปิ (และแม้) สมูหนิบาต

นาคมํสํ (เนื้อของช้าง, เนื้อช้าง) นาค+มํส > นาคมํส+อํ


อีกสำนวนแปลหนึ่ง ที่เคยแปลไว้...


ราชสีห์แม้จะหิวจนแสบไส้,

ไม่อาลัยคิดจะกินใบพฤกษา,

ราชสีห์แม้ผอมโซจนโรยรา

ไม่คนึงถึงโอชารสคชสาร.„


..


 

Keine Kommentare: