๔๗. เป็นกุลบุตรควรรักศักดิ์ศรี
กุลชาโต กุลปุตฺโต, กุลวํสสุรกฺขิโต;
อตฺตนา ทุกฺขปตฺโตปิ, หีนกมฺมํ น การเยฯ
“กุลบุตร ผู้เกิดในตระกูล,
ผู้อันตระกูลวงศ์รักษาดีแล้ว,
แม้ประสบทุกข์ด้วยตนเอง,
ก็ไม่ควรทำกรรมที่ต่ำทราม.“
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๔๗, ธัมมนีติ ๒๓๘, กวิทัปปณีติ ๑๘๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กุลชาโต (ผู้เกิดในตระกูล) กุล+ชาต > กุลชาต+สิ, วิ. กุเล ชาโต กุลชาโต (ผู้เกิดในตระกูล ชื่อว่า กุลชาต) สัตตมีตัป.
กุลปุตฺโต (กุลบุตร, บุตรแห่งตระกูล) กุล+ปุตฺต > กุลปุตฺต+สิ, วิ. กุลสฺส ปุตฺโต กุลปุตฺโต (บุตรแห่งตระกูล ชื่อว่า กุลปุตฺต) ฉัฏฐีตัป.
กุลวํสสุรกฺขิโต ( ผู้อันวงศ์ตระกูลรักษาแล้วด้วยดี, ผู้ถูกสกุลวงศ์รักษาด้วยดี) กุล+วํส+รกฺขิต > กุลวํสสุรกฺขิต+สิ วิ. กุลสฺส วํโส = กุลวํโส (วงศ์แห่งตระกูล ชือว่า กุลวํส) ฉัฏฐี ตัปปุ. วิ. กุลวํโส สุรกฺขิโต เยน โสยํ = กุลวํสสุรกฺขิโต (ผู้ชื่อว่า กุลวํสสุรกฺขิต คือผู้อันวงศ์แห่งตระกูลรักษาแล้วด้วยดี) ตติยาพหุพพีหิสมาส.
อตฺตนา (ด้วยตน) อตฺต+นา
ทุกฺขปฺปตฺโตปิ: ตัดบทเป็น ทุกฺขปฺปตฺโต+อปิ (แม้ถึงความทุกข์, แม้ประสบทุกข์) ทุกฺข+ปตฺต > ทุกฺขปฺปตฺต+สิ, ส่วน อปิ (แม้) เป็นอุปสัค
หีนกมฺมํ (ซึ่งกรรมอันเลว, กรรมชั่ว) หีน (ต่ำ, เลว, ทราม) +กมฺมํ (การกระทำ, กรรม) > หีนกมฺม+อํ
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
การเย (ให้ทำ) √กร+ณย+เอยฺย, ตนาทิ. เหตุกัตตุ. วิธีทำตัวรูป: ลง ณย ปัจจัย ด้วยสูตรว่า – ธาตูหิ เณณยณาเปณาปยา การิตานิ เหตฺวตฺเถ. (ร. ๕๔๐) = กร+ณย+เอยฺย, ลบ ณ - การิตานํ โณ โลปํ (รู.๕๒๖) = กร+ย+เอยฺย, วุทธิ อ เป็น อา – อสํโยคนฺตสฺส วุทฺธิ การิเต (รู. ๕๒๗) = การ+ย+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า – กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู. ๔๘๘) = การ+ย+เอ, แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น = การเย (พึงให้ทำ), แต่ในนี้ขอแปลเป็นกัตตุวาจก.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen