๕๔. พี่งคนตามเหตุการณ์
สงฺคาเม สูรมิจฺฉนฺติ, มนฺตีสุ อกูตูหลํ;
ปิยญฺจ อนฺนปาเนสุ, อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํฯ
“ยามมีสงคราม ต้องการคนกล้า,
ยามปรึกษา ต้องการคนหนักแน่น,
ยามมีข้าวและน้ำ ต้องการคนที่รัก,
ยามคดีเกิดขึ้น ต้องการคนมีปัญญา.“
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๔, สูรัสสตีนีติ ๓๕, กวิทัปปณีติ ๒๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สงฺคาเม (ในเวลาสงคราม, ในการต่อสู้) สงฺคาม+สฺมุ, ส่วนสูรัสสตีนีติ และกวิทัปปณนีติ เป็น อุกฺกฏฺเฐ (อุกฤษฏ์, เลิศ, ประเสริฐ, สูงยิ่ง) อุกฺกฏฺฐ+สฺมึ (คงจะหมายถึงในยามฉุกเฉิน).
สูรมิจฺฉนฺติ ตัดบทเป็น สูรํ+อิจฺฉนฺติ (แปลว่า: ชนา ชน ท. อิจฺฉนฺติ ย่อมปรารถนา สูรํ ซึ่งคนกล้าหาญ)
สูรํ (ซึ่งคนกล้า) สูร+อํ
อิจฺฉนฺติ (ย่อมปรารถนา, ต้องการ, ประสงค์, มุ่งมาย) √อิสุ+อ+อนฺติ แปลงที่สุดธาตุแห่ง อิสุ และ ยมุ ธาตุเป็น จฺฉ ด้วยสูตรว่า อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
มนฺตีสุ (ในผู้มีความคิด ท., ที่ปรึกษา, อำมาตย์) มนฺตี+สุ (คำนี้น่าจะเป็นคุณนามมากว่า ในที่นี้แปลเป็นนาม เพื่อเอาความ)
อกุตูหลํ (ความไม่โกลาหล, ไม่อึกกะทึก, คนไม่ตระหนกตกใจ, ไม่ตื่นเต้น) อกุตูหล+อํ
ปิยญฺจ ตัดบทเป็น ปิยํ+จ (คนรัก, ผู้เป็นที่รัก+ด้วย)
อนฺนปานมฺหิ (ในข้าวและน้ำ, ในการกินและดื่ม) อนฺน (ข้าว) + ปาน (น้ำดื่ม) > อนฺนปาน+สฺมึ
อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ (และเมื่อความต้องการเกิดแล้ว หรือ ประโยชน์เกิดแล้ว ชน ท. ย่อมปรารถนา ซึ่งบัณฑิต), อตฺถ+สฺมึ = อตฺเถ แปลว่า ความต้องการ, ประโยชน์, คดีความ. ชาต+สฺมึ = ชาเต แปล เกิดแล้ว. ปณฺฑิต+อํ = ปณฺฑิตํ แปลว่า ซึ่งบัณฑิต, ผู้รู้, คนมีปัญญา.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen