๕๕. สุนัขเห็นกันคนพาลเห็นคนดี
สุนโข สุนขํ ทิสฺวา, ทนฺตํ ทสฺเสติ หึสิตุํ,
ทุชฺชโน สุชนํ ทิสฺวา, โรสยํ หึสมิจฺฉติฯ
„สุนัขเห็นสุนัข ย่อมแสยะฟันเพื่อจะกัดกัน
คนพาลเห็นคนดี ย่อมอาฆาต อยากรังแก“.
(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๕, ธัมมนีติ ๑๓๗, กวิทัปปณีติ ๑๘๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้แบ่งเป็นสองประโยค คือ
๑) สุนโข สุนขํ ทิสฺวา, ทนฺตํ ทสฺเสติ หึสิตุํ, (แปลว่า: สุนโข อ. สุนัข ทิสฺวา เห็นแล้ว สุนขํ ซึ่งสุนัข ทสฺเสติ ย่อมแสดง ทนฺตํ ซึ่งฟัน หึสิตุํ เพื่ออันเบียดเบียน.)
สุนโข (สุนัข, หมา) สุนข+สิ
สุนขํ (ซึ่งสุนัข) สุนข+อํ
ทิสฺวา (เห็นแล้ว) ทิส+อ+ตฺวา+สิ
ทนฺตํ (ซึ้งฟัน) ทนฺต+อํ
ทสฺเสติ (ย่อมแสดง, เห็น, ปรากฏ) √ทิส+เณ+ติ ภูวาทิ. เหตุกัตตุ. แปลง ทิส เป็น ทสฺส ได้บ้าง § ทิสฺส ปสฺส-ทิสฺส-ทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
หึสิตุํ (เพื่ออันเบียดเบียน, ข่มแหง, รังแก) หึส+อ+อิ+ตุํ > หึสิตุํ+สิ ลบ สิ.
๒) ทุชฺชโน สุชนํ ทิสฺวา, โรสยํ หึสมิจฺฉติ (แปลว่า: ทุชฺชโน อ. คนพาล ทิสฺวา เห็นแล้ว สุชนํ ซึ่งคนดี โรสยํ เกรี้ยวกราดอยู่ อิจฺฉติ ย่อมต้องการ หึสํ ซึ่งการเบียดเบียน.)
ทุชฺชโน (คนพาล, ทุรชน) ทุชฺชน+สิ
สุชนํ (ซื่งคนดี, สุชน) สุชน+อํ
ทิสฺวา (เห็นแล้ว) √ทิส+อ+ตฺวา > ทิสฺวา+สิ
โรสยํ (โกรธ, อาฆาต, มาดร้าย, เกรี้ยวกราด, ขึงขัง, สยะแสยง) √รุส+ณย+อนฺต > โรสยนฺต+สิ
หึสมิจฺฉติ ตัดบทเป็น หึสํ+อิจฺฉติ (อยากเบียดเบียน, ต้องการรังแก),
หึสํ (ซึ่งการรังแก, เบียดเบียน) หึสา+อํ,
อิจฺฉติ (ปรารถนา, ต้องการ, อยาก, ชอบ) √อิสุ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงอักษรที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
ในปทรูปสิทธิ แสดงชื่อสุนัขไว้ ๘ ศัพท์ คือ : สุนโข, สโณ, สฺวาโน, สุวาโน, สุโน สุโณ, สา, สาโน. ทั้งหมดเป็นปุงลิงค์
ในสัททนีติ ธาตุมาลาท่านแสดงรูปวิเคราะห์ไว้ ว่า
โสโณติ สุนโข, โส หิ สามิกสฺส วจนํ สุณาตีติ โสโณติ วุจฺจติ.
(แปลว่า: สัตว์ใดย่อมฟัง เหตุนั้น สัตว์นั้น ชื่อว่า สุนัข, จริงอยู่ สุนัขนั้น เขาเรียกว่า โสณ เพราะอรรถว่า เป็นสัตว์ที่ฟังคำของเจ้าของ.)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen